ส่วนนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ ในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย อาทิ 304 อินดัสเตรียลปาร์ค จ.ปราจีนบุรี, นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค กบินทร์บุรี, นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี สถานการณ์ยังปกติ แต่ก็ไม่ประมาทและติดตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
"ที่อื่นๆสถานการณ์ยังปกติ แต่ต้องเฝ้าระวังที่อมตะชลบุรี เฝ้าระวังมวลน้ำที่จะมาจากทางพนัสนิคม หลังเกิดฝนตกติดต่อกันถึง 4 วัน ประกอบกับน้ำทะเลหนุน"เจ้าหน้าที่วอร์รูม กรมโรงงานกล่าวกับ"อินโฟเควสท์"
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัยว่า จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 4-5 ต.ค.56 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอบ่อทอง พนัสนิคม และอำเภอบางละมุง บริเวณตัวเมืองพัทยา บริเวณถนนพัทยาสาย 3 พัทยาเหนือ, ถนนสุขุมวิท ทั้งฝั่งขาเข้า ขาออก บริเวณหน้าสถานีตำรวจทางหลวงพัทยาไปจนถึงใต้สะพานลอยปากทางเข้าถนนพัทยาใต้ ซอยบัวขาว, ซอยเออาร์,ถนนเลียบชายหาดพัทยา, ถนนพัทยาใต้ บริเวณหน้าตึกคอม
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเมืองพัทยา และอาสาสมัคร เร่งระบายการจราจร ระบายน้ำที่ท่วมขัง และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
ส่วน จ.ปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอศรีมหาโพธิ แนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง อำเภอศรีมโหสถ อำเภอประจันตคาม ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จังหวัดติดตั้งเรือผลักดันน้ำ 17 ลำ ในแม่น้ำปราจีนบุรีเพื่อเร่งระบายน้ำ ขณะที่ จ.สระแก้ว ปัจจุบันยังมีสถานการณ์ 9 อำเภอ (วัฒนานคร โคกสูง ตาพระยา วังน้ำเย็น เขาฉกรรจ์ เมือง อรัญประเทศ คลองหาด วังสมบูรณ์) เนื่องจากมีฝนตกหนักช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. 56 ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
และ จ.จันทบุรี ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมใน 2 อำเภอ (นายายอาม ท่าใหม่) 3 ตำบล 13 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลงอย่างต่อเนื่อง