ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงกำชับหน่วยงานที่ให้บริการระบบขนส่งมวลชนให้เตรียมพร้อมรับมือกับการเดินทางของประชาชนอย่างเต็มที่ โดยพยายามให้ปรับแผน เพิ่มเที่ยวรถประจำทางให้เพียงพอต่อความต้องการ แต่ยอมรับมีความเป็นห่วงในช่วงหลังจากนี้ซึ่งจะทำให้ปริมาณการสัญจรบริเวณโรงเรียนขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น จึงขอให้ประชาชนวางแผนการเดินทาง และหันมาระบบขนส่งมวลชนในการเดินทางมากขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งธนบุรี ที่จะเดินทางข้ามาฝั่งกรุงเทพมหานคร จะประสบปัญหาการจราจรติดขัดมากที่สะพานซังฮี้ต่อเนื่องไปยังถนนรัตนาธิเบศน์และถนนงามวงศ์วาน เพราะมีการปิดซ่อมแซมสะพานพระราม 8
รมว.คมนาคม กล่าวว่า ในส่วนของรถร่วมบริการ ขสมก.นั้น จะขอความร่วมมือให้ตรึงราคาค่าโดยต่อไปอีกระยะ แม้ว่า การปรับขึ้นค่าโดยสารของรถร่วมจะสามารถอนุมัติผ่านคณะกรรมการขนส่งทางบกกลางได้เอง เนื่องจากเป็นเหตุจำเป็นที่ประชาชนได้รับเดือดร้อนอยู่แล้ว ส่วนการชดเชยผลกระทบนั้น จะต้องรอให้รัฐบาลใหม่เป็นผู้พิจารณา
อย่างไรก็ตาม มีหลายหน่วยงานที่จำเป็นจะต้องขอชดเชยรายได้ อาทิ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เนื่องจากมีต้นทุนเพิ่มสูง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
อนึ่ง ในช่วงชัตดาวน์กรุงเทพเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาส่วนของขสมก. มีปริมาณลดลงเหลือ 2.1 ล้านเที่ยวต่อวัน จากปกติ 3 ล้านเที่ยวต่อวัน, ผู้ใช้บริการการทางพิเศษ มีปริมาณลดลงเหลือ 1.1-1.2 ล้านคันต่อวัน จากปกติ 1.7 ล้านคันต่อวัน, แต่ในส่วนของไฟฟ้า MRT มีปริมาณการใช้บริการเพิ่มขึ้น จาก 2.6 แสนคนเที่ยว เป็น 3 แสนคนเที่ยว แต่ถือว่าเป็นความเสียหายน้อยเมื่อเทียบกับความเดือดร้อนของประชาชน