ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วพิพากษาให้คุ้มครองตามคำร้องที่ผู้ชุมนุมขอมา เช่น ห้ามจำเลยใช้กำลังสลายการชุมนุม ห้ามยึดอายัดสินค้าอุปโภค ห้ามออกคำสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ห้ามกระทำการที่เป็นการปิดกั้นการจราจรหรือการใช้เส้นทางผู้ชุมนุม ห้ามออกคำสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ห้ามออกคำสั่งห้ามการใช้ยานพาหนะ ห้ามออกคำสั่งห้ามบุคคลออกจากพื้นที่หรืออาคาร เป็นต้น
ศาลระบุว่าตัว พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้อำนาจพิเศษแก่รัฐเพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ แต่ไม่ได้หมายความว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะไม่ได้รับการคุ้มครอง กรณีนี้จากการนำสืบศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าการชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่ใช่เป็นการทำให้เกิดความไม่สงบในประเทศที่นายกรัฐมนตรีจะใช้เป็นข้ออ้าง ออกประกาศที่เป็นการกระทบสิทธิการชุมนุมโดยชอบ เป็นการมุ่งบังคับใช้กับบุคคลบางกลุ่ม ซึ่งเป็นการริดลอนสิทธิ
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาคดีดังกล่าว องค์คณะผู้พิพากษา 2 ใน 5 มีความเห็นแย้งขอให้เพิกถอน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่เสียงข้างมากให้คงไว้