การที่มองเห็นดาวอังคารส่องประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า เนื่องจากพื้นผิวของดาวอังคารมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กออกไซด์ จึงมักเรียกฉายาของดาวอังคารว่า "ดาวเคราะห์สีแดง" ซึ่งจะโคจรใกล้โลกทุก 2 ปี และมีคาบการโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งทั้งดาวอังคาร โลก และดวงอาทิตย์จะเรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง
ทั้งนี้ดาวอังคารจะโผล่พ้นจากขอบฟ้าคืนวันที่ 14 เม.ย. ตั้งแต่เวลา 18.02 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในกลุ่มดาวหญิงสาว โดยอยู่ด้านซ้ายของดวงจันทร์ หากสังเกตช่วงเช้ามืดวันที่ 15 เม.ย. จะมองเห็นดาวอังคารปรากฏอยู่สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ครั้งล่าสุดที่โคจรใกล้โลกคือวันที่ 5 มี.ค. 55 และจะใกล้โลกที่สุดครั้งต่อไปวันที่ 31 พ.ค. 59
สำหรับประชาชนที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ ที่หน้าอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (บริเวณท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) ไม่มีค่าใช้จ่าย
วันนี้ (14 เม.ย.) ที่หน้าอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (บริเวณท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) สมาคมดาราศาสตร์ไทยจะตั้งกล้องดูดาวส่องดูขั้วน้ำแข็งดาวอังคารใกล้โลก เวลา 18.00- 21.00 น.