พร้อมยืนยันว่า ปัจจุบันกล้อง CCTV ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครเป็นกล้องที่สามารถใช้งานได้จริงทั้งหมด และปัจจุบันไม่มีกล้องดัมมี่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาประชาชนร้อยละ 70 ที่มาขอดูภาพจากกล้อง CCTV ที่ศูนย์ควบคุมระบบจราจร จะได้รับข้อมูลภาพตามที่ต้องการ แต่ยังมีบางส่วนที่ไม่ได้รับข้อมูลเนื่องจากสาเหตุอื่นๆ อาทิ กล้องในจุดดังกล่าวไม่อยู่ในทิศทางที่สามารถจับภาพเหตุการณ์นั้นๆ ได้ หรือกล้องได้รับความเสียหายจากการถูกขโมยเมมโมรี่การ์ด
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีนโยบายติดตั้งกล้องเพื่อดูแลด้านการจราจรและความปลอดภัยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 50,000 กล้อง ปัจจุบันดำเนินการทั้งสิ้น 47,064 กล้อง โดยมีกล้องที่ใช้เพื่อการศึกษาหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร เช่น BTS และ BRT จำนวน 5,984 กล้อง มีกล้องที่เชื่อมเข้าสู่ศูนย์ควบคุมและสำนักงานเขตอีก 17,604 กล้อง (แล้วเสร็จ 8,604 กล้อง อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 9,000 กล้อง)
ส่วนกล้องที่ติดตั้งแบบ Stand Alone จำนวน 23,196 กล้อง โดยแล้วเสร็จพร้อมบรรจบกระแสไฟฟ้า 12,000 กล้อง อยู่ระหว่างการติดตั้ง 1,312 กล้อง และติดตั้งแล้วเสร็จรอบรรจบกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง 9,884 กล้อง จากปี พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน มีสถิติการขอภาพจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) โดยประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เพื่อประกอบในคดีความต่างๆ จำนวน 4,815 ครั้ง ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญ ยกตัวอย่างคดีน้องการ์ตูนที่หายไป ท้ายที่สุดเป็นการลักพาตัวไปข่มขืน โดยสืบหาคนร้ายได้จากภาพกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ของกรุงเทพมหานครที่ติดตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS เป็นต้น