สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 56 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 71 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,045 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,184 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 120 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 227 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 366 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 69 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของความจุอ่างฯ เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี มีปริมาณน้ำ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 134 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะกลางและภาคตะวันออก ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,900 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำในเขื่อนหลายแห่งยังอยู่ในเกณฑ์น้อยแม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝนก็ตาม เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมามีค่าน้อยกว่าค่าปกติ ทำให้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อยตามไปด้วย จึงขอให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไปให้ร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะวิกฤตขาดแคลนน้ำได้ในอนาคต