อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความมั่นใจของผู้โดยสาร บริษัทฯ ได้มีการกำหนดมาตรการในการป้องกันการระบาด โดยคำนึงถึงการให้บริการทั้งบนเครื่องบินและภาคพื้นดิน รวมถึงความปลอดภัยของพนักงาน ซึ่งมาตรการต่างๆ จะใกล้เคียงกับที่เคยใช้ปฏิบัติในคราวที่เกิดโรคระบาดซาร์ เมื่อปี พ.ศ. 2546 และโรคระบาดไข้หวัดนกในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งได้ผลดีและได้รับการชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินมาตรการป้องกันต่างๆ ดังนี้
- มาตรการคัดกรองในการตรวจรับผู้โดยสารและการบริการลูกค้าภาคพื้น อาทิ การสังเกตอาการผู้โดยสารก่อนการเช็คอิน หากจำเป็นผู้โดยสารต้องมีใบรับรองแพทย์
- มาตรการในการให้บริการบนเครื่องบิน อาทิ การเฝ้าระวัง สังเกตอาการของผู้โดยสารในระหว่างการเดินทาง
- มาตรการในการจัดเตรียมอากาศยานและฆ่าเชื้อโรค อาทิ การพ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในอากาศยานในระหว่างจอดที่สนามบิน
- มาตรการในการทำความสะอาดภายในอากาศยาน อาทิ การทำ Deep Cleaning และเพิ่มการทำความสะอาด 36 จุดสัมผัสภายในห้องโดยสาร
- มาตรการในการป้องกันและเฝ้าระวังสุขอนามัยของพนักงาน อาทิ การมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ประจำเครื่องบิน และการให้ความรู้ในการป้องกันสุขภาพแก่พนักงาน
- มาตรการด้านการรับขนส่งสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ อาทิ เพิ่มมาตรการในการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์และหลีกเลี่ยงการขนส่งสินค้าที่มีความเสี่ยง
- มาตรการด้านโภชนาการ อาทิ การคัดเลือกวัตถุดิบและวิธีการปรุงอาหารที่สะอาดได้มาตรฐานและไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นพาหะของโรค
อย่างไรก็ตาม การบินไทยได้ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อติดตามสถานการณ์และมาตรการต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด