อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของ สปช. มีอยู่ 2 เรื่องหลัก คือ เสนอแนะแนวทางการปฏิรูปและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และ สปช. ต้องส่งตัวแทน 20 คน เข้าไปเป็นกรรมาธิการยกร่างด้วย ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ในกฎหมายสรรหา สปช. ให้อำนาจหัวหน้า คสช. ในการตัดสินปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการสรรหาตัวบุคคล ชี้แจงว่า เป็นการยืดหยุ่นและเพื่อให้การทำงานมีความสะดวก หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับจำนวนคน หรือระยะเวลาในการทำงานของ สปช. หัวหน้า คสช. สามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาได้ โดยไม่ต้องออกเป็นกฎหมาย
ส่วนหากมีปัญหาหรือมีผู้ที่เห็นต่าง ก็สามารถยื่นศาลปกครองให้ตัดสินได้เช่นกัน และเชื่อว่าจะไม่กระทบการทำงานของ สปช. เพราะเมื่อศาลรับเรื่องไปพิจารณา ก็ให้บุคคล หรือเรื่องที่มีปัญหาชะลอหรือหยุดชะงักไปก่อน แต่เรื่องอื่นยังเดินหน้าได้ตามปกติ
ทั้งนี้ ยืนยันว่าการแต่งตั้งสมาชิกและประธาน สปช. จะไม่มีการล็อบบี้อย่างแน่นอน และมองว่าคนที่มาทำหน้าที่ประธาน สปช.ได้ ต้องมีความอดทนสูง เพราะต้องเข้ามาควบคุมสมาชิกที่มาจากหลายภาคส่วน ซึ่งต้องมีความเห็นที่แตกต่างกัน