ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง กำแพงเพชร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ เลย เชียงใหม่ เชียงราย อุดรธานี อ่างทอง อุตรดิตถ์ หนองคาย มหาสารคาม พิษณุโลก พะเยา นครราชสีมา พิจิตร ชัยภูมิ น่าน จันทบุรี แพร่ สุโขทั ย ตากและนครสวรรค์ รวม 64 อำเภอ 135 ตำบล 561หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,982ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 9 ราย(กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน เชียงราย จังหวัดละ 2 ราย นครศรีธรรมราช พะเยา แพร่ จังหวัดละ 1 ราย ) ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 24จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 3 จังหวัด 9 อำเภอ ได้แก่ สุโขทัย ตาก และนครสวรรค์
ในส่วนของจังหวัดสุโขทัย ฝนที่ตกหนักทางภาคเหนือ ทำให้น้ำจำนวนมากไหลลงสู่แม่น้ำยมจนน้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 7อำเภอ26 ตำบล 152 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองสุโขทัย อ.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีนคร อ.ทุ่งเสลี่ยม อ.ศรีสำโรงอ.สวรรคโลก และอ.กงไกรลาศ ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,049 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 9,894 ไร่ ถนน 37 สายคอสะพาน 2 แห่ง ท่อระบายน้ำ 35 แห่ง คลองระบายน้ำ 15 แห่ง
สถานการณ์ปัจจุบัน พนังกั้นน้ำลำน้ำยมแตกบริเวณตำบลปากแคว อำเภอเมืองสุโขทัยได้รับความเสียหายความกว้างประมาณ 50 เมตร ทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่เขตเศรษฐกิจ และพื้นที่รอบนอกเขตเศรษฐกิจของเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี โดยเขตเศรษฐกิจระดับน้ำท่วมลดลงแล้ว แต่พื้นที่รอบนอกเขตเศรษฐกิจบริเวณลุ่มน้ำยมตอนบนยังคงมีน้ำท่วมขัง ส่วนอ.ศรีสำโรง พนังกั้นน้ำชำรุด ทำให้น้ำท่วมขยายพื้นที่เป็นวงกว้างระดับน้ำทรงตัว
ทั้งนี้จังหวัดสุโขทัยได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อเป็นศูนย์กลางบูรณาการสรรพกำลังแก้ไขปัญหาอุทกภัยและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย จ.ตาก แม่น้ำวังเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในตำบลแม่สลิด อ.บ้านตากปัจจุบันไม่มีฝนตกในพื้นที่ แต่ระดับน้ำยังทรงตัว เนื่องจากยังมีมวลน้ำจากจ.ลำปางไหลมาสมทบ จ.นครสวรรค์ น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มการเกษตรในอำเภอหนองบัว รวม 1ตำบล 1 หมู่บ้าน ปัจุบันมีฝนตกในพื้นที่เล็กน้อย ระดับน้ำทรงตัว
ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ อีกทั้งตรวจสอบและสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบ ส่วนแนวโน้มสถานการณ์อุทกภัยนั้น ในพื้นที่ภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ยังคงมีปริมาณฝนกระจายร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ ซึ่ง ปภ.ได้ประสานจังหวัดและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย จัดเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย