ขณะที่ จ.นครสวรรค์ น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ไหลหลากเข้าท่วมอำเภอหนองบัว รวม 4 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 29 ครัวเรือน ปัจจุบันไม่มีฝนตกในพื้นที่ ระดับน้ำทรงตัว
จ.พิจิตร น้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ไหลเข้าท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ 10 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,113 ครัวเรือน 3,573 คน พื้นที่การเกษตร 1,864 ไร่ ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมที่อำเภอทับคล้อคลี่คลายแล้ว ยังคงมีน้ำท่วมขัง 4 อำเภอ 8 ตำบล 38 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอดงเจริญ อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และอำเภอสามง่าม
จ.พิษณุโลก น้ำจากจังหวัดสุโขทัยไหลเข้าท่วมพื้นที่อำเภอพรหมพิราม รวม 4 ตำบล ปัจจุบันไม่มีฝนตกในพื้นที่ มวลน้ำจากจังหวัดสุโขทัยยังไหลเข้าพื้นที่ลุ่มต่ำทางการเกษตร ระดับน้ำทรงตัว
ส่วนจ.เชียงราย เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและดินสไลด์ ในพื้นที่ 4 อำเภอ 10 ตำบล 25 หมู่บ้าน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว อยู่ระหว่างการฟื้นฟู ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลังและทรัพยากรปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ อีกทั้งตรวจสอบและสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ตลอดจนซ่อมแซมสาธารณูปโภคและสิ่งสาธารณประโยชน์ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว
อนึ่ง อิทธิพลหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบน ร่องมรสุมกำลังแรง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2557 จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 29 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง กำแพงเพชร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช เพชรบูรณ์ เลย เชียงใหม่ อุดรธานี อ่างทอง อุตรดิตถ์ หนองคาย มหาสารคาม พิษณุโลก พะเยา นครราชสีมา ชัยภูมิ น่าน จันทบุรี แพร่ สระแก้ว ตราด สุโขทัย เชียงราย ตาก นครสวรรค์ และพิจิตร รวม 73 อำเภอ 181 ตำบล 761 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,087 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 10 ราย (กำแพงเพชร แม่ฮ่องสอน เชียงราย จังหวัดละ 2 ราย นครศรีธรรมราช พะเยา แพร่ สุโขทัย จังหวัดละ 1 ราย ) ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 24 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 5 จังหวัด 14 อำเภอ 61 ตำบล 278 หมู่บ้าน