สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 48 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 36 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,981 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,981 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 511 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนือ ยังสามาถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 13,800 ล้านลูกบาศก์เมตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 67 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 437 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 84 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 1,194 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 3,300 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับในพื้นที่ภาคกลางและตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 507 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 164 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุอ่างฯ เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 122 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนหนองปลาไหล จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 64 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ ยังสามารถรับน้ำรวมกันได้อีกกว่า 1,300 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าฤดูฝนปีนี้เหลือเวลาอีกไม่นาน แต่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ยังคงมีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย จึงขอให้เกษตรกรในพื้นที่ท้ายเขื่อน เน้นการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติให้มากที่สุด และช่วยกันประหยัดน้ำอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งที่กำลังจะมาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ อย่างเพียงพอไม่ขาดแคลน