โดยมาตรการดังกล่าว ประกอบด้วย 1.ข้อมูลพื้นที่ที่จะประสบปัญหาภัยแล้งในสองลุ่มน้ำหลัก ได้แก่ ลุ่มเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งกรมชลประทานมีข้อมูลดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และได้จัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงมหาดไทยไปดำเนินการประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนในพื้นที่ไปแล้วในเบื้องต้นเช่นกัน ทั้งนี้ในส่วนที่จะนำเสนอ ครม.จะมีการแจกแจงว่าจะมีพื้นที่ใดบ้างที่จะประสบปัญหาภัยแล้งไม่สามารถทำการเกษตรได้เลย หรือพื้นที่ใดมีน้ำสามารถทำการเกษตรได้ แบ่งเป็น ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจำนวน 820,000 ไร่ และลุ่มน้ำแม่กลอง 5.5 แสนไร่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลลงลึกในระดับตำบล และระดับหมู่บ้าน
2.แผนการขุดลอก คูคลอง เพื่อเพิ่มการกักเก็บปริมาณน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งปัจจุบันพบว่ายังมีปริมาณน้ำฝนในแหล่งน้ำธรรมชาติที่สามารถนำมาเก็บกักไว้ใช้เพื่อการเกษตรได้ ซึ่งกรมชลประทานจะเร่งสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมให้แล้วเสร็จเพื่อเสนอ ครม.ให้ทันวันที่ 14 ต.ค.นี้เช่นกัน เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม 3.แผนการสร้างแหล่งน้ำ หรือขุดบ่อน้ำขนาดเล็กเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำในพื้นที่ที่ประสบปัญหาความแห้งแล้ง ในสองลุ่มน้ำได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำแม่กลอง ทางกรมชลประทานก็จะเสนอแผนดำเนินการในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
4.ส่งเสริมการจ้างงานและสร้างอาชีพเกษตรกรเป้าหมายที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ประมาณ 3 แสนราย อาทิ การจ้างงานเพื่อบำรุงรักษาคลองส่งน้ำของชลประทาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งส่วนหนึ่งจะใช้งบประมาณปกติของกรมชลประทาน ในส่วนที่ไม่เพียงจะก็จะขอสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม และ 5.แผนการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในส่วนของน้ำอุปโภคบริโภค กรมชลประทานได้วางแผนในการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำให้เพียงพอ โดยอาจจะมีการโยกย้ายในพื้นที่ที่ไม่ประสบภัยมารวมส่วนกลางเพื่อสามารถให้การช่วยเหลือได้ทันที รวมถึงการสำรองเสบียงอาหารสัตว์ เมล็ดพันธุ์พืชฤดูแล้งให้เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเกษ รายละเอียดทั้งหมดนั้นกระทรวงเกษตรฯ เตรียมแผนงานและงบประมาณที่จะขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 14 ตุลาคมนี้