2. หากโอนไปแล้ว สิทธิผลประโยชน์ของพนักงานจะทำอย่างไร สถานภาพของพนักงานเป็นข้าราชการประจำกทม. หรือเป็นลูกจ้างกทม. หรือเป็นลูกจ้างองค์กรกทม. 3. พนักงานได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานหรือไม่ กฏหมายใด หากไม่มีจะได้รับการคุ้มครองจากกฏหมายใด 4. กทม. มีมาตรการรองรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงาน และการฌาปนกิจสงเคราะห์พนักงาน ขสมก. อย่างไร
และ 5. มาตรฐานสิทธิประโยชน์ของพนักงานใช้อะไรเป็นตัวกำหนด อิงกฏหมายใด และหากจะโอน ขสมก. ไปสังกัดกทม. จะต้องไปเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดิมที่ขึ้นกับกรุงเทพมหานครหรือกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากสมาชิกสหภาพแรงงานฯ และพนักงาน ขสมก. พร้อมที่จะไปในสถานภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้
ด้านม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ขณะนี้กรุงเทพมหานครยังไม่ทราบแนวทางชัดเจนและยังไม่มีอะไรเป็นทางการ เนื่องจากการถ่ายโอนดังกล่าวรัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจ แต่ยืนยันว่าการบริหารบุคลากรของกรุงเทพมหานครทั้งในส่วนของข้าราชการ ลูกจ้าง และอาสาสมัครของกรุงเทพมหานคร ในยุคของตนได้ดูแลบุคลากรอย่างดี ทั้งในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และค่าตอบแทนพิเศษ ซึ่งหากมีการโอนขสมก. เข้าสังกัดกทม.จริง กทม. ก็พร้อมที่จะดูแลบุคลากรทุกคนอย่างเต็มที่