ขณะที่ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้มีการใช้น้ำไปแล้ว 1,696 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 58 ของแผนจัดสรรน้ำฯ(แผนจัดสรรน้ำฤดูแล้งฯ กำหนดไว้ 2,900 ล้านลูกบาศก์เมตร) สำหรับผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ล่าสุด(ณ 23 ม.ค. 58) มีรายงานว่า เกษตรกรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้มีการทำนาปรังไปแล้วกว่า 4.11 ล้านไร่ ดังนั้น เพื่อให้การใช้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ เพียงพอใช้ตลอดในช่วงฤดูแล้ง จึงขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้งดเพิ่มพื้นที่ทำนาปรังต่อเนื่องด้วย
ส่วนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(3 ก.พ. 58) ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,988 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,188 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 5,721 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 2,871 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 574 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 61 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 531 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 617 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 614 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้ง 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 6,204 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในส่วนของการตรวจวัดค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีนนั้น กรมชลประทาน ได้เพิ่มความถี่ในการตรวจวัดค่าความเค็มมากกว่าหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีผลต่อการใช้น้ำในการผลิตน้ำประปาหล่อเลี้ยงคนกรุงเทพฯและปริมณฑลหลายล้านคน ซึ่งปัจจุบันค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน ยังถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ