ขณะที่ ร้อยละ 10.11 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ การตัดสินใจของผู้หญิงยังไม่มีความเด็ดขาดพอ จำนวนผู้ชายที่สนใจด้านการเมืองมีมากกว่า และการแข่งขันค่อนข้างสูงสำหรับเรื่องการเมือง ร้อยละ 0.24 ระบุว่าไม่ได้ดูที่เพศ เน้นดูที่ความสามารถมากกว่า และร้อยละ 1.83 ไม่ระบุ
โดยในจำนวนผู้ที่เห็นด้วยนั้น ร้อยละ 15.05 ระบุว่า ควรมีสัดส่วนผู้หญิงประมาณ 30% ของการดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับชาติ เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.13 ระบุว่า ควรมีสัดส่วนของผู้หญิงประมาณ 50 % ขณะที่ร้อยละ 14.41 ระบุว่า ควรมีสัดส่วนของผู้หญิงมากกว่า 50 % ร้อยละ 13.42 ระบุว่า ควรเป็นไปตามสัดส่วนจำนวนประชากร และร้อยละ 3.99 ระบุอื่น ๆ เช่น 20% 40 % หรือตามความรู้ความสามารถ และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชาย มีสัดส่วนของผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 86.72 ในขณะที่ผู้หญิงมีสัดส่วนของผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 89.17
ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการกำหนดสัดส่วนการดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่น (เช่น ตำแหน่ง สมาชิกสภา อบต. สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภา อบจ. เป็นต้น) ระหว่างสตรีและบุรุษ ให้มีความเท่าเทียมกัน พบว่า ในภาพรวม ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.70 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะผู้หญิงมีความละเอียด รอบคอบมากกว่า และมีความสามารถพอ ๆ กับผู้ชาย หรือเก่งกว่าผู้ชายในบางเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ไม่โกงกินคอร์รัปชัน อีกทั้งเรื่องการเมืองระดับท้องถิ่นเป็นเรื่องที่อ่อนไหว ขณะที่ ร้อยละ 11.15 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะเรื่องการเมืองระดับท้องถิ่นควรให้ผู้ชายเป็นผู้นำมากกว่าผู้หญิง ร้อยละ 0.24 ระบุว่าไม่ได้ดูที่เพศ เน้นดูที่ความสามารถมากกว่า และร้อยละ 1.91 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้ ในจำนวนผู้ที่เห็นด้วยนั้น ร้อยละ 16.44 ระบุว่า ควรมีสัดส่วนผู้หญิงประมาณ 30 % ของการดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่น เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.72 ระบุว่า ควรมีสัดส่วนของผู้หญิงประมาณ 50 % ขณะที่ร้อยละ 14.42 ระบุว่า ควรมีสัดส่วนของผู้หญิงมากกว่า 50 % ร้อยละ 12.30 ระบุว่า ควรเป็นไปตามสัดส่วนจำนวนประชากร และร้อยละ 3.12 ระบุอื่น ๆ เช่น 40% หรือตามความรู้ความสามารถ และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชาย มีสัดส่วนของผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 86.87 ในขณะที่ผู้หญิง มีสัดส่วนของผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 86.50
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อความเท่าเทียมกันของสถานภาพทางการเมืองระหว่างสตรีและบุรุษ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.96 ระบุว่า เท่าเทียมกัน เพราะที่ผ่านมาผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำทางการเมืองได้ ปัจจุบันสังคมเปิดกว้างและยอมรับอย่างเท่าเทียมกันทั้งในด้านความรู้ความสามารถ ความคิด การแสดงออกทางการเมือง ขณะที่ร้อยละ 47.13 ระบุว่าไม่เท่าเทียมกัน เพราะยังปรากฏความเหลื่อมล้ำ การกีดกันสิทธิทางเพศสตรีให้เห็นอยู่ในสังคม ซึ่งส่วนใหญ่มองว่าผู้ชายมีความเหมาะสมมากกว่าผู้หญิง ทั้งในด้านความสามารถ อำนาจ สิทธิ และการตัดสินใจ ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ขึ้นอยู่กับความสามารถและความรับผิดชอบ และร้อยละ 1.83ไม่ระบุ/ ไม่แน่ใจ และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชาย มีสัดส่วนของผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 51.37 ในขณะที่ผู้หญิง มีสัดส่วนของผู้ที่เห็นด้วย ร้อยละ 50.44
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อเหตุผลที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้จำนวน ส.ส. หญิงในสภามีสัดส่วนที่น้อยกว่า ส.ส. ชาย ทั้งๆ ที่จำนวนประชากรผู้หญิงในประเทศไทยมีมากกว่าผู้ชาย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 46.10 ระบุว่า เป็นเพราะ ประชาชนไม่นิยมเลือกผู้สมัครหญิงเพราะมองว่าผู้ชายมีความเหมาะสมกับการเมืองการปกครองมากกว่า รองลงมาร้อยละ 16.56 ระบุว่า เป็นเพราะผู้หญิงไทยไม่มีความสนใจทางการเมือง ร้อยละ 13.85 ระบุว่า เป็นเรื่องของการเลือกตั้งโดยประชาชน ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับประเด็นเพศหญิงหรือเพศชาย ร้อยละ 9.32 ระบุว่า เป็นเพราะพรรคการเมืองไม่ให้โอกาสผู้หญิงได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ร้อยละ 8.44 ระบุว่า เป็นเพราะผู้หญิงไทยมีความสนใจทางการเมือง แต่ไม่ชอบการเข้าแข่งขันทางการเมือง ร้อยละ 0.40 ระบุว่า เป็นเพราะผู้หญิงอิจฉากันเองจึงไม่สนับสนุนผู้สมัครหญิง ร้อยละ 0.08 ระบุว่า เป็นเพราะการเมืองไทยเป็นระบบเครือญาติ และร้อยละ 5.25ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 – 6 มีนาคม 2558จากประชาชนชาวไทยที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,256 ตัวอย่างร้อยละ 20.06 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 19.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 19.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 19.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 20.46 ภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ตัวอย่างร้อยละ 55.18 เป็นเพศชาย และร้อยละ 44.82 เป็นเพศหญิง