ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมการนำเข้า – ส่งออก มีหน่วยงานหลักในการดำเนินการ คือ ทส. และหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสนับสนุนการผลิตและการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ได้แก่ อก. กค. ทส. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ อก. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) สถาบันการศึกษา ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทดสอบของภาคเอกชน ทุกภาคส่วน และทุกกระทรวง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีหน่วยงานหลักในการดำเนินการได้แก่ ทส.กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) อก. และหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาปรับปรุงกลไกการคัดแยก เก็บรวบรวม และขนส่งซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีหน่วยงานหลักในการดำเนินการ คือ ทส. และหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ อก. มท. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างขีดความสามารถของโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากระบบคัดแยก เก็บรวบรวม และขนส่ง ไปจัดการอย่างครบวงจรและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม มีหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ได้แก่ อก. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) สธ. และหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ ทส. มท. สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีหน่วยงานหลักในการดำเนินการ ได้แก่ วท. ทส. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ ศธ. ทุกภาคส่วน และทุกหน่วยงาน