"การจะไปทำความเข้าใจต้องมีความชัดเจนในระดับนโยบาย และต้องยอมรับเกี่ยวกับน้ำสำหรับการทำการเกษตร โดยจะต้องหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป" พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว
รมว.มหาดไทย กล่าวว่า จากที่ได้รับรายงานคาดว่าฝนจะมาในช่วงกลางเดือนสิงหาคม แต่อาจจะตกใต้เขื่อนทำให้น้ำต้นทุนในปีหน้าลดน้อยลง ส่วนที่นักวิชาการออกมาพูดให้ข้อมูลจนอาจส่งผลให้ประชาชนเกิดความตกใจนั้นอยากให้ยอมรับความจริงว่าบ้านเรามีทั้งช่วงที่น้ำมากและน้ำน้อย การบริหารจัดการจึงมีความจำเป็น
ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า พื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องน้ำประปาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในส่วนของ จ.ปทุมธานี ได้รับการแก้ไขแล้ว โดยใช้น้ำดิบจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ส่วนพื้นที่ที่ยังมีปัญหาอยู่ เช่น อ.พระพุทธบาท ก็ต้องบริหารจัดการน้ำให้ยืนระยะให้ได้ วันนี้ได้เน้นน้ำอุปโภคบริโภคเป็นหลัก โดยการหาแหล่งน้ำต้นทุน จุดไหนที่มีปัญหาก็ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนที่ใช้น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เขตชลประทานที่เป็นประเด็นปัญหาขึ้นมา เพราะมีการใช้น้ำร่วมกันระหว่างเกษตรกรและน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค วันนี้ได้ทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนเชื่อว่าปัญหาต่างๆจะคลี่คลายได้ดี
"น้ำประปาเรามีการบริหารจัดการ ตรงไหนน้ำน้อยก็มีการหาแหล่งน้ำสำรอง ทั้งในและนอกระบบชลประทาน ขอให้มั่นใจว่าระบบประปาจะทำให้ประชาชนได้ทั่วถึง ตรงไหนมีปัญหาจะได้รับการแก้ไขหาน้ำไปส่ง ประชาชนจะไม่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค วันนี้ทุกคนวันนี้ต้องช่วยกันประหยัดน้ำ และเราแก้ปัญหาภัยแล้งกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน นายกฯสั่งการตั้งแต่ปีที่แล้วว่า พื้นที่แล้งซ้ำซากต้องลดและค่อยๆหมดไป และประชาชนต้องไม่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค" นายฉัตรชัย กล่าว