ทั้งนี้มีการศึกษาประเมินช่องว่างและการทำงานที่ทับซ้อนระหว่างสองสถาบันหลักคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งพบว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาแก้ไขการทำงานใน 5 เรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนและส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าในและระหว่างประเทศ ได้แก่ นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยความปลอดภัยของเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์, กฎหมายการขนส่งอาหารที่ถูกอนามัย, การรับรองคุณภาพความปลอดภัยของเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ตรวจสอบทวนย้อนได้ตั้งแต่ฟาร์มถึงผู้บริโภค, การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภค และการสื่อสารข้อมูลความปลอดภัย ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยจะทดลองดำเนินการใน 2 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ เชียงใหม่ และ สระบุรี ในปี 2559
ด้านนางซาชิชารีน ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยอาหารและโภชนาการ FAO กล่าวว่า FAO ได้คัดเลือกไทยเป็นประเทศนำร่องศึกษาระบบการทำงานบูรณาการของสถาบันหลักด้านความปลอดภัยอาหารเพื่อใช้เป็นแบบอย่างในภูมิภาคเอเชียต่อไป โดยจะดำเนินงาน 2 ปี(ปี 2558-2559) ซึ่งผลที่จะได้จากการทำงานครั้งนี้จะช่วยประเทศไทยวาง Road Map พัฒนายุทธศาสตร์การควบคุมอาหารผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ให้มีความชัดเจนและได้ประโยชน์ต่อประเทศไทยมากยิ่งขึ้น