ส่วนผลเสียมากสุด 25.06% คือ เกิดการแข่งขันด้านแรงงานสูง ประเทศที่ประชาชนยังขาดความพร้อมอาจเสียเปรียบ รองลงมา 22.35% การแข่งขันด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก กิจการขนาดเล็กได้รับผลกระทบ ตามด้วย 14.00% ปัญหาสังคมเหลื่อมล้ำ เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ เนื่องจากแต่ละประเทศพัฒนาไม่เท่ากัน, 13.77% ปัญหาการก่อการร้าย อาชญากรรม การค้ามนุษย์ อาจเกิดได้ง่ายขึ้น, 12.41% ความแตกต่างทางด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และ 12.41% เรื่องอื่นๆ ได้แก่ อาจสูญเสียเอกลักษณ์วัฒนธรรมของตนเอง มีปัญหายาเสพติด สังคมแออัด แรงงานต่างด้าวทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาด้านการคมนาคม ขนส่งและภาคการเกษตร
สิ่งที่อยากฝากถึงกลุ่มประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมอาเซียนมากสุด 42.34% คือ การทำงานร่วมกัน สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ เคารพซึ่งกันและกันและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข รองลงมา 15.17% ช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนให้อาเซียนเข้มแข็ง ตามด้วย 13.10% สนับสนุนด้านการศึกษาและภาษาต่างประเทศ พัฒนาการศึกษาให้มีมาตรฐานทัดเทียมกัน, 11.86% เคารพวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน การรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ดี ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น, 9.10% มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์ เน้นความเสมอภาค เช่น มีมาตรฐานค่าจ้างแรงงาน ไม่ละเมิดสิทธิ และ 8.43% เรื่องอื่นๆได้แก่ มีมาตรการรักษาความปลอดภัย การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกฎระเบียบข้อบังคับให้ชัดเจน ดูแลด้านสาธารณสุข การรักษาโรค การป้องกันโรคติดต่อ
เรื่องที่อยากให้ประชาคมอาเซียนให้ความสำคัญหรือเน้นมากที่สุด 14.87% คือ การศึกษา รองลงมา 14.41% เศรษฐกิจอาเซียน ตามด้วย 12.04% ความมั่นคงอาเซียน, 10.74% คุณภาพชีวิตของประชาชน, 7.87% ส่งเสริมความร่วมมือกับนานาประเทศ, 7.57% การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, 7.44% เทคโนโลยี, 7.19% สังคมวัฒนธรรมอาเซียน, 6.42% ด้านอาหาร, 5.24% การแข่งขันกับนานาประเทศ, 5.18% การเกษตร, 0.15% คอรัปชั่น และ 0.88% เรื่องอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาว่างงาน สุขภาพ การยึดครองที่ดิน ค่าตอบแทน เก็บภาษี
ทั้งนี้ สวนดุสิตโพลได้ข้อมูลดังกล่าวจากโครงการศึกษาดูงานสำนักโพล มหาวิทยาลัย และสื่อต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ประกอบด้วย มาเลเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว บรูไน เมียนม่าร์ เวียดนาม สิงคโปร์ และหน่วยงานในประเทศไทย โดยเก็บจาก 650 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนมีนาคม-กันยายน 2558