ทั้งนี้ ทางนกแอร์แจ้งสาเหตุที่ไม่มีตัวแทนเข้าร่วมประชุมว่าติดภารกิจการประชุมภายในบริษัท ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงสั่งให้สายการบินนกแอร์ชี้แจงสาเหตุปัญหาที่ทำให้เกิดการยกเลิกเที่ยวบินมาภายใน 3 วันทำการจากนี้ และในวันพรุ่งนี้จะรายงานเรื่องดังกล่าวให้กับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้รับทราบ
นายออมสิน เปิดเผยหลังการประชุมว่า ในวันนี้มี 13 สายการบินเข้าร่วมหารือ จากทั้งหมด 14 สายการบินทั้งในและต่างประเทศ ยกเว้นสายการบินนกแอร์ โดยทางนกแอร์แจ้งว่ามีการประชุมภายในของบริษัท จึงไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้
กระทรวงคมนาคมจะรายงานผลการประชุมการแก้ไขการบินในวันนี้ต่อนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และจะรายงานให้ ครม.รับทราบในวันพรุ่งนี้ ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ก็ได้ให้ความสนใจเรื่องนี้ พร้อมกันนั้น กระทรวงคมนาคมจะแจ้งไปยังสายการบินนกแอร์ให้ชี้แจงปัญหาการยกเลิกเที่ยวบิน 9 เที่ยวเมื่อวานนี้ให้กระทรวงได้รับทราบภายใน 3 วันทำการ
"การประชุมแก้ไขปัญหาการบินวันนี้เกิดจากเมื่อวานผู้โดยสารสายการบินนกแอร์ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกเที่ยวบิน ซึ่งเหตุเกิดตั้งแต่เวลาประมาณ 13.00 น.ปัญหาคือไม่ได้รับคำชี้แจงว่าเกิดอะไรขึ้น จนกระทั่งเย็นก็ยังไม่มีคำตอบ จน 3 ทุ่มมีผู้บริหารระดับสูงของนกแอร์บอกว่ามีปัญหานักบิน วันนี้จึงเชิญ 14 สายการบินมา ซึ่งก็มาร่วมประชุม 13 สายการบินยกเว้นนกแอร์"นายออมสิน กล่าว
รมช.คมนาคมกล่าวว่า กรณีของสายการบินนกแอร์กำลังให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กทพ.)พิจารณาว่าจะผิดหรือไม่ผิดในมาตรdkiข้อใด อย่างไรก็ตาม กระทรวงจะต้องเปิดโอกาสให้สายการบินนกแอร์ชี้แจง และกระทรวงคมนาคมคงจะไม่ลงไปตาวจสอบถึงนักบินที่ประท้วงและไม่ทำการบินของสายการบินนกแอร์ แต่กระทรวงจะพูดคุยกับผู้บริหารสายการบิน ส่วนนักบินเขาต้องไปดูแลกันเองเพราะถือว่าเป็นเรื่องภายใน นักบินเป็นลูกจ้างของสายการบิน
นายออมสิน กล่าวว่าจากการประชุมวันนี้ได้ให้แนวทางการแก้ไขปัญหาการบิน คือให้ทุกสายการบินทุกแห่งต้องมีแผนฉุกเฉินในทุกกรณี และต้องให้มี Manager Duty.ทั้งต้นทางปลายทางที่สามารถมีอำนาจตัดสินใจแก้ปัญหา. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนเมื่อวานนี้ และให้ทุกสายการบินส่งแผนฉุกเฉินมายังกระทรวงคมนาคพายใน 1เดือน. รวมถึงแผนบริหารความเสี่ยงของแต่ละสายการบิน และในอนาคตให้เชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ทุกสายการบินกับ กพท.เพื่อทำการตรวจสอบได้ทันหากเกิดปัญหา
นอกจากนี้ให้มีมาตรการคุ้มครองผู้ครองผู้บริโภคต้องมีความชัดเจนตามข้อกฎหมายครอบคลุมการดูแลผู้โดยสารหากมีการยกเลิกโดยเสนอให้ผู้โดยสารเลือกรับเงินคืนค่าโดยสารรวมค่าธรรมเนียม หรือเปลี่ยนเที่ยวบินให้บินไปสายการบินอื่นโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือส่วนต่างที่เกิดขึ้น. หรือจัดให้มีการขนส่งทางอื่น นอกจากนี้ให้การดูแลจัดการเครื่องดื่ม อุปกรณ์สื่อสาร ที่พักให้กับผู้โดยสารที่ถูกยกเลิกเที่ยวบิน และชำระเงินค่าชดเชยเป็นเงินสดจำนวน 1,200 บาทให้กับผู้โดยสารทันที ก่อนผู้โดยสารจะออกเดินทาง
เว้นแต่สายการบินพิสูจน์ได้ว่าได้แจ้งให้ผู้โดยสารยกเลิกเที่ยวบินทราบก่อนกำหนดเดินทางล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3วัน หรือได้แจ้งการวกเลิกเที่ยวบินให้ผู้โดยสารทราบก่อนกำหนดเวลาเดินทางไม่ถึง 3 วันหรือกรณีเที่ยวบินเปลี่ยนแปลงออกเดินทางก่อนหรือหลังเวลาเดิมไม่เกิน 3 ชั่วโมง หรือการยกเลิกเที่ยวบินเกิดจากเหตุสุดวิสัยอยู่นอกเหนือการควบคุมเช่นอากาศปิด ตลอดจนการนัดหยุดงานหรือการกระทำใดๆของพนักงานและลํกจ้างของหน่วยงานที่มีผลต่อการปฏิบัติการบิน
"กระทรวงคมนาคมแจ้งกับสายการบินทุกสายในกรณีที่เกิดขึ้นครั้งแรกไม่ว่ากัน ตักเตือนก่อน กรณีเกิดขึ้นครั้งที่ 2 กระทรวงคมนาคมโดยกพท.อาจหยุดพักใบอนุญาตชั่วคราว และกรณีเกิดขึ้นครั้งที่3 กทพ.อาจเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายทางเดินอากาศ(AOL) แจจะชั่วคราวหรือตลอดไป". รมช.คมนาคมกล่าว
นางอัมพวัน วรรณโก รองอธิบดีกรมท่าอากาศยาน กล่าวว่า หากสายการบินใดไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับไม่เกิน 20,000บาทและหากมีการทำผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกวันละ 1,000 บาท ตลอดเวลาที่ทำการฝ่าฝืนอยู่ ตามประกาศกระทรวงคมนาคมเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินไทยในเส้นทางประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553