สำหรับมาตรการการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น จะเป็นการช่วยลดปริมาณการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือน้ำประปา โดยกรุงเทพมหานครตั้งเป้านำน้ำเสียที่บำบัดแล้วไปใช้ให้มากที่สุด และได้กำหนดโซนนิ่งของโรงบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครที่สะดวกต่อการเดินทางไปรับน้ำ ซึ่งมีจำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย โรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม-ภาษีเจริญ-ราษฎร์บูรณะ โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุ โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง โรงควบคุมคุณภาพจตุจักร และศูนย์การศึกษาฯ บางซื่อ เพื่อให้สำนักงานเขตและสำนักสิ่งแวดล้อมนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วไปใช้รดน้ำต้นไม้ในพื้นที่กรุงเทพฯ สวนสาธารณะ รวมทั้งใช้ในพื้นที่การเกษตร โดยกำหนดรัศมีที่สะดวกต่อการเดินทางไปรับน้ำ
นอกจากนี้ ขอให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญต่อการดูแลช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งตามมาตรการและแผนงานที่กำหนดไว้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้การดำเนินงานหลายเรื่อง เช่น การส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง อาทิ เมลอน แตงไทย และถั่วเขียว ฯลฯ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ในอนาคตพื้นที่ใน กทม.ยังต้องระมัดระวังการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น กทม.จึงต้องมีการส่งเสริมการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยทั้งในด้านการผลิตและการตลาดอย่างต่อเนื่องต่อไป