พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การจัดการขยะตกค้างของประเทศมีความคืบหน้า
แล้ว 66% หลังจากที่รัฐบาลได้กำหนดให้การแก้ไขปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติ และได้จัดทำโรดแมพการจัดการขยะมูลฝอยและของ
เสียอันตราย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การจัดการขยะมูลฝอยตกค้างในพื้นที่วิกฤต (ขยะเก่า) ,สร้างรูปแบบการจัดการขยะที่
เหมาะสม (ขยะใหม่) ,การวางระเบียบมาตรการการบริหารจัดการขยะ และสร้างวินัยคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน
“ที่ผ่านมารัฐบาลได้เร่งกำจัดขยะค้างเก่าในพื้นที่วิกฤต 6 จังหวัด ไปแล้ว 9 ล้านตัน จาก 11 ล้านตัน ส่วนพื้นที่อื่นทั่ว
ประเทศได้ขนย้ายไปกำจัดอย่างถูกต้อง หรือแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า รวมแล้ว 20 ล้านตัน ทำให้การกำจัดขยะตกค้าง
ของประเทศมีความก้าวหน้าไปแล้วร้อยละ 66 จากปริมาณขยะทั้งหมด 30.5 ล้านตัน”พลตรีสรรเสริญ กล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดการขยะใหม่นั้นทางกระทรวงมหาดไทย (มท.) ร่วมกับ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คัดแยกขยะต้นทาง เก็บขนแยก
ประเภท และส่งไปกำจัดตามหลักวิชาการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขยะตกค้าง มีการตั้งจุดรวบรวมของเสียอันตราย จำนวน 83 แห่งทั่ว
ประเทศ และส่งเสริมการบริหารจัดการในรูปแบบศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม (cluster) ในแต่ละจังหวัด ซึ่งจะช่วยกำจัดขยะใหม่ได้
เพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 2.18 ล้านตัน จากเดิมที่สามารถกำจัดได้ 12.7 ล้านตันในแต่ละปี
นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมลงทุนเดินระบบการแปรรูปขยะเพื่อผลิตพลังงาน โดยเปิดดำเนินการแล้ว
2 แห่ง ที่จ.ภูเก็ต และจ.สงขลา สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 15 เมกะวัตต์ และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 4 แห่ง คือ กรุงเทพ
มหานคร (กทม.) ขอนแก่น พัทลุง และหนองคาย ซึ่งคาดว่าจะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 15 เมกะวัตต์
“ท่านนายกฯ ได้กำชับให้ มท. ทส. เร่งดำเนินการกำจัดขยะตกค้างในพื้นที่วิกฤตที่ยังเหลืออยู่ รวมทั้งการก่อสร้างสถานที่
กำจัดขยะมูลฝอย จ.พระนครศรีอยุธยา และโรงกำจัดขยะในภาพรวมของประเทศ เพื่อรองรับปริมาณขยะมูลฝอยของทุกจังหวัด พร้อม
ทั้งให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการตามแผนสร้างจิตสำนึกด้านการจัดการขยะแก่นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย 30,000 แห่ง ให้
แล้วเสร็จภายในปี 59”พลตรีสรรเสริญ กล่าว