2.ตรวจสอบการนำเข้าปัจจัยที่นำไปผลิตปุ๋ย ทั้งการตรวจใบอนุญาต และ สุ่มเก็บตัวอย่าง 3.ควบคุมการผลิต และ จำหน่าย ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ปุ๋ย โดยพิจารณาจากพื้นที่ ชนิดพืช และ ฤดูกาล เพื่อลดความเสี่ยง ยกตัวอย่างเช่น ภาคเหนือมีการปลูกลำไย ข้าว หอมแดง กระเทียม หอมหัวใหญ่ อ้อย ควรมีปุ๋ยเฉพาะที่ใช้กับพืชเหล่านี้ในพื้นที่ อาทิเช่น ในห้วงเดือน เม.ย. - ก.ค. มีเฉพาะปุ๋ยสูตร 8 - 24 - 24 เป็นต้น 4.จัดโครงการร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ Q-Shop ซึ่งในปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรรับรองแล้ว 2,691 ร้าน 5.การควบคุมโฆษณาและฉลาก ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน แจ้งเบาะแส เพื่อตรวจการโฆษณาเกินจริง 6.จัดทำระบบค้นหา และ ตรวจสอบข้อมูลออนไลน์ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลแก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง
ด้านนายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ ม.ค.ที่ผ่านมา สารวัตรเกษตร ร่วมกับ จนท.ตร. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ออกตรวจพบผู้กระทำผิด 12 ราย ปุ๋ยปลอม 350 ตัน มูลค่า 19.78 ล้านบาท (พบที่ กทม. 2 ราย, ปทุมธานี 3 ราย, กาญจนบุรี 2 ราย, นครปฐม 1 ราย, พิจิตร 1 ราย, กำแพงเพชร 1 ราย, ชัยภูมิ 1 ราย และ นครพนม 1 ราย) ซึ่งจากการกระทำผิด มีทั้งโทษจำคุก และ ปรับ เช่น ผลิตหรือมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายปลอม มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 7 แสนบาท ผลิตปุ๋ยเคมีโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
"ผู้พบเห็นการกระทำผิดสามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สารวัตรเกษตร โทร. 02-9404534 และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) โทร. 1135 เมื่อคดีถึงที่สุด ผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับเงินรางวัลนำจับ ร้อยละ 9 ของค่าปรับอีกด้วย"นายสุรพล กล่าว