สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ 1,380 คน ประเด็นการปรองดองในทัศนะของประชาชน โดยถามถึงสาเหตุของความแตกแยก และวิธีสร้างความปรองดอง พบว่า 75.22% เชื่อว่ามาจาก ความคิดเห็น มุมมองที่ไม่ตรงกัน ส่วนวิธีสร้างความปรองดอง คือ ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ใจเย็น ลดทิฐิ ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา นึกถึงประโยชน์ของส่วนรวม ฯลฯ 74.35% เชื่อว่ามาจาก อำนาจและผลประโยชน์ ส่วนวิธีสร้างความปรองดอง คือ สร้างจิตสำนึกคุณธรรมจริยธรรม ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ มีบทลงโทษที่รุนแรง มีการตรวจสอบการทำงาน ฯลฯ 70.22% เชื่อว่ามาจาก ความขัดแย้งทางการเมืองส่วนวิธีสร้างความปรองดอง คือ ทุกฝ่ายต้องหันหน้าเข้าหากัน ไม่ว่าร้าย ถอยคนละก้าว ร่วมมือกันทำงานเพื่อบ้านเมือง ฯลฯ 65.65% กฎหมายไม่เคร่งครัด 2 มาตรฐาน ส่วนวิธีสร้างความปรองดอง คือ มีกฎหมายที่เป็นธรรม บังคับใช้กับทุกคนทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา ฯลฯ และ 62.83% เชื่อว่ามาจาก การยุยง ใส่ร้ายป้ายสี ให้ข้อมูลที่บิดเบือน ส่วนวิธีสร้างความปรองดอง คือ ใช้สติและวิจารณญาณในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ไม่ฟังความข้างเดียว สื่อต้องเป็นกลางและเสนอข่าวที่เป็นจริง ฯลฯ
ส่วนใครที่ควรจะเป็นแกนนำในการสร้างความปรองดอง 81.30% พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 76.52% ข้าราชการ 71.74% ผู้นำท้องถิ่น หรือชุมชน 68.70% รัฐบาล และ 65.22% นักการเมือง
สำหรับผลดีที่เป็นรูปธรรมซึ่งเกิดจากการปรองดอง พบว่า 83.26% บ้านเมืองสงบ ไม่มีชุมนุมประท้วง 77.83% ภาพลักษณ์ของประเทศดีขึ้น 69.57% บ้านเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพ 67.39% ทุกคนทุกฝ่ายรักและสามัคคีกัน และ 60.22% ประชาชนมีความสุข ไม่เครียด
และเมื่อถามถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น ถ้าผลการปรองดองไม่สำเร็จ พบว่า 86.30% ยังคงมีการทะเลาะเบาะแว้ง แบ่งฝ่าย 84.78% เศรษฐกิจแย่ การค้าการลงทุนชะงัก 80.00% ประเทศไม่พัฒนา ทำงานขัดแย้งกัน 75.65% เกิดการทุจริต คอรัปชั่นมากขึ้น และ 57.61% สังคมเสื่อม คนขาดศีลธรรม