ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “7 วันอันตราย กับการลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้เป็นศูนย์" โดยจากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับทราบกฎหมายหรือมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ด้านการใช้ความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะ เขตเมืองที่ 50 กม./ชม. และนอกเขตเมือง 90 กม./ชม. พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.71 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ ร้อยละ 34.29 ระบุว่า ไม่ทราบ ด้านการกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะถือว่าเมาสุรา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.38 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ ร้อยละ 22.62 ระบุว่า ไม่ทราบ ด้านการกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ผู้ที่อายุไม่ถึง 20 ปี ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาสุรา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.68 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ร้อยละ 49.32 ระบุว่า ไม่ทราบ ส่วนการรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งในรถโดยสาร (ยกเว้นรถที่ไม่เข้าเกณฑ์) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.01 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ร้อยละ 7.99 ระบุว่า ไม่ทราบ และการห้ามนั่งบนขอบหรือฝาท้ายกระบะ และนั่งท้ายกระบะไม่เกิน 6 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 89.85 ระบุว่า ทราบ ขณะที่ ร้อยละ 10.15 ระบุว่า ไม่ทราบ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายหรือมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ว่าจะช่วยป้องกันและลดอุบัติเหตุได้มากน้อยเพียงใด พบว่า ด้านการใช้ความเร็วในการขับขี่ยานพาหนะ เขตเมืองที่ 50 กม./ชม. และนอกเขตเมือง 90 กม./ชม. ประชาชน ร้อยละ 41.17 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 44.60 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 11.83 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย และร้อยละ 2.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ส่วนการกำหนดให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะถือว่าเมาสุรา พบว่า ประชาชน ร้อยละ 57.79 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 27.26 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 13.27 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจหรับการกำหนดให้ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ที่อายุไม่ถึง 20 ปี ถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา พบว่า ประชาชน ร้อยละ 52.60 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 25.82 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 19.10 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลยและร้อยละ 2.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านการรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งในรถโดยสาร (ยกเว้นรถที่ไม่เข้าเกณฑ์) พบว่า ประชาชน ร้อยละ 44.04 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 34.53 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 19.19 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ และการห้ามนั่งบนขอบหรือฝาท้ายกระบะ และนั่งท้ายกระบะไม่เกิน 6 คน ร้อยละ 40.37 ระบุว่า ช่วยได้มาก ร้อยละ 31.57 ระบุว่า ช่วยได้ปานกลาง ร้อยละ 25.50 ระบุว่า ช่วยไม่ได้เลย และร้อยละ 2.56 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของเป้าหมายการลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปี 2560 ด้านการลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.95 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย รองลงมา ร้อยละ 32.93 ระบุว่า เป็นได้ปานกลางมีเพียง ร้อยละ 4.96 ระบุว่า เป็นได้มาก ส่วนการลดอุบัติเหตุให้น้อยกว่าปีที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.63 ระบุว่า เป็นได้ปานกลาง รองลงมา ร้อยละ 18.39 ระบุว่า เป็นได้มาก ขณะที่ร้อยละ 14.87 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.75 ระบุว่า ควรบังคับใช้กฎหมายเรื่อง เมาไม่ขับอย่างเคร่งครัด รองลงมา ร้อยละ 40.21 ระบุว่า ควรบังคับใช้กฎหมายเรื่อง การจำกัดความเร็วในการขับขี่อย่างเคร่งครัด ร้อยละ 35.81 ระบุว่า ควรมีมาตรการคุมเข้มการซื้อ –ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 35.09 ระบุว่า ควรบังคับใช้กฎหมายเรื่อง การขับรถประมาทอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 27.02 ระบุว่า ควรเพิ่มบทลงโทษ ทางกฎหมายกฎจราจรให้หนักขึ้น ร้อยละ 24.46 ระบุว่า ควรประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และสร้างจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย และเคารพกฎจราจร ร้อยละ 20.86 ระบุว่า ควรเพิ่มด่านตรวจ จุดกวดขันวินัยจราจร ร้อยละ 19.50 ระบุว่า ควรปรับปรุงซ่อมแซมเส้นทาง ป้าย และสัญญาณไฟต่าง ๆ ให้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการจราจร ร้อยละ 16.47 ระบุว่า ควรคุมเข้มการเล่นสาดน้ำสงกรานต์ตามจุดต่าง ๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ไม่ใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำที่มีแรงดันสูง เล่นน้ำสงกรานต์อย่างมีสติ และระมัดระวังรถที่สัญจรไปมา ร้อยละ 14.39 ระบุว่า ควรจัดระเบียบ การขายของริมทางเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการจราจร โดยเฉพาะจุดเสี่ยง ร้อยละ 1.92 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรเพิ่มจุดพักรถเพื่ออำนวย ความสะดวกแก่ผู้ขับขี่รถยนต์, ควรปรับปรุงระบบการขนส่ง รถสาธารณะให้ดีขึ้นกว่านี้, ผู้ขับขี่ควรตรวจสอบเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง, และควรทำกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากการเล่นน้ำสงกรานต์ และร้อยละ 3.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “7 วันอันตราย กับการลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้เป็นศูนย์" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 10 เมษายน 2560 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง