นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลฯ ได้เดินหน้าแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากอุทกภัยด้านการเกษตร ปี 2559/60 วางเป้าหมายในการป้องกัน ลดความเสี่ยง และความเสียหายของภาคเกษตรรวมทั้งฟื้นฟูให้เกษตรกรกลับสู่ภาวะปกติหรือพัฒนาให้ดีกว่าเดิม แบ่งออกเป็น 4 แผนงาน 41 กิจกรรม ประกอบด้วย
1. การป้องกันและลดผลกระทบเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย 1.1 ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วยติดตามสภาพอากาศ/ปริมาณน้ำแผนบริหารจัดการน้ำรายจังหวัดกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำและบำรุงรักษาพื้นที่รับน้ำปฏิบัติการฝนหลวง 1.2 ด้านการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วยการปรับรอบการผลิตในพื้นที่ลุ่มต่ำการจัดทำคันป้องกัน/Flood Wayการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรการแนะนำการลดความเสี่ยงตรวจสอบฟาร์มสัตว์ดุร้ายแผนอพยพปศุสัตว์/บริหารพื้นที่อพยพจัดทำบัญชีทรัพยากร เครื่องมือ อุปกรณ์ เสบียงสัตว์ เวชภัณฑ์ 1.3 ด้านสร้างความเข้าใจความเสี่ยง ประกอบด้วยการซักซ้อมแนวปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่การซักซ้อมระบบแจ้งเตือนสร้างความเข้าใจความเสี่ยง
2.การเผชิญเหตุ ประกอบด้วย 2.1 ด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยปรับแผนการบริหารน้ำติดตั้งเครื่องจักรเร่งระบายน้ำเสริมคันกันน้ำ ทำนบชั่วคราวแจ้งเตือนพื้นที่ท้ายน้ำ 2.2 ด้านการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วยเสริมคันป้องกัน/สร้าง Flood Wayเก็บผลผลิตเกษตร สัตว์น้ำ จำหน่ายอพยพปศุสัตว์/บริหารพื้นที่ส่งกำลังบำรุงเข้าพื้นที่ 2.3 ด้านการช่วยเหลือและสื่อสารสถานการณ์ จะระดมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและแนะนำเกษตรกรสื่อสารข้อมูลสถานการณ์น้ำและพื้นที่ปลอดภัย
3. การหยุดยั้งความเสียหาย ประกอบด้วย 3.1 ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วยการสำรวจพื้นที่น้ำท่วมขังเกษตรเสริมกำลัง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เกษตรลุ่มต่ำและพื้นที่การเกษตรที่สำคัญ 3.2 ด้านการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วยตรวจ วินิจฉัย ป้องกันและกำจัดโรคพืช สัตว์ ประมงสนับสนุนเวชภัณฑ์เพื่อป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากน้ำบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นในพื้นที่เกษตรกรรมโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.6 3.3 ด้านการช่วยเหลือเยี่ยมเยียน ประกอบด้วยคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ประเมินความเสียหายแจ้งสิทธิการช่วยเหลือตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
และ 4. การฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิม ประกอบด้วย 4.1 ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วยซ่อม/สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานและ Flood Wayจัดทำระบบป้องกันพื้นที่เกษตรที่สำคัญ 4.2 ด้านการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วยวิเคราะห์ความเสียหายและประเมินความต้องการ/ความจำเป็นในการฟื้นฟูและจัดทำแผนฟื้นฟูของจังหวัดฟื้นฟูของสภาพดิน ปรับปรุงบำรุงดินการสร้างรายได้ระยะสั้นและส่งเสริมการผลิตให้ดีกว่าเดิมการช่วยเหลือตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 4.3 ด้านการให้ความรู้ในการฟื้นฟู ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตการปรับรองการผลิตการจัดทำแนวป้องกัน