นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2560 ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลากใน 44 จังหวัด รวม 254 อำเภอ 1,133 ตำบล 7,713 หมู่บ้าน 43 ชุมชน
ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 34 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 10 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร ร้อยเอ็ด นครพนม นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และพระนครศรีอยุธยา รวม 103 อำเภอ 593 ตำบล 4,609 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ได้แก่ จ.สกลนคร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอพรรณานิคม อำเภออากาศอำนวย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอภูพาน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอคำตากล้า อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอส่องดาว อำเภอบ้านม่วง อำเภอพังโคน อำเภอวานรนิวาส อำเภอเต่างอย และอำเภอโพนนาแก้ว รวม 115 ตำบล 1,267 หมู่บ้าน 43 ชุมขน ประชาชนได้รับผลกระทบ 135,044 ครัวเรือน 426,037 คน ผู้เสียชีวิต 9 ราย
จ.ร้อยเอ็ด น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 20 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทราย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอเชียงขวัญ อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอหนองพอก อำเภอเมืองสรวง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองฮี อำเภอปทุมรัตน์ และอำเภอโพนทอง รวม 116 ตำบล 847 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,515 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 3 ราย
จ.นครพนม ฝนที่ตกหนักและมวลน้ำจากหนองหาน จังหวัดสกลนคร ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาแก อำเภอนาหว้า อำเภอวังยาง อำเภอเรณูนคร อำเภอศรีสงคราม และอำเภอโพนสวรรค์ รวม 21 ตำบล 61 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 360 ครัวเรือน
จ.นครราชสีมา ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยาง อำเภอโนนแดง และอำเภอประทาย รวม 21 ตำบล 242 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,532 ครัวเรือน
จ.กาฬสินธุ์ น้ำไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนามน อำเภอท่าคันโท อำเภอนาคู อำเภอสมเด็จ อำเภอเขาวง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอดอนจาน อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอคำม่วง อำเภอร่องคำ อำเภอห้วยเม็ก และอำเภอฆ้องชัย รวม 84 ตำบล 747 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,870 ครัวเรือน อพยพประชาชน 70 ครัวเรือน
จ.ยโสธร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอกุดชุม อำเภอไทยเจริญ อำเภอทรายมูล อำเภอค้อวัง อำเภอเลิงนกทา และอำเภอเมืองยโสธร รวม 42 ตำบล 281 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,051 ครัวเรือน
จ.มุกดาหาร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอดงหลวง อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอหว้านใหญ่ อำเภอหนองสูง อำเภอดอนตาล และอำเภอคำชะอี รวม 45 ตำบล 403 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30,633 ครัวเรือน 97,700 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย
จ.อำนาจเจริญ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอลืออำนาจ อำเภอพนา อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม รวม 52 ตำบล 344 หมู่บ้าน 11,137 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 52,359 ไร่
จ.อุบลราชธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก อำเภอน้ำขุ่น อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอนาจะหลวย อำเภอเดชอุดม อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอดอนมดแดง และอำเภอตระการพืชผล รวม 28 ตำบล 99 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,712 ครัวเรือน
จ.พระนครศรีอยุธยา ผลกระทบจากเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางไทร รวม 68 ตำบล 297 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,019 ครัวเรือน
ทั้งนี้ กรมป้องกันฯ ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมกำชับจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหายให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ส่วนจังหวัดที่ยังมีสถานการณ์อุทกภัย ให้ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัย ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ ให้เชื่อมโยงการระบายน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด