"สวนดุสิตโพล"ปชช.ไม่ค่อยเชื่อมั่นรัฐบาลรับมือน้ำท่วมปีนี้ ,กังวลน้ำท่วมหนักหลายพื้นที่

ข่าวทั่วไป Sunday August 6, 2017 11:01 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศถึงสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ที่มีแนวโน้มเข้าขั้นวิกฤตหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นฝนที่ตกหนักต่อเนื่องและน้ำไหลหลาก โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด ส่งผลให้บ้านเรือน พื้นที่ทางการเกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก ประชาชนไม่มีที่อยู่อาศัย ในขณะที่รัฐบาลก็ได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์น้ำท่วม โดยได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,293 คน ระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2560 สรุปผลได้ ดังนี้

ประชาชนเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะรับมือสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ได้หรือไม่ 38.99% ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะดูจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ มีน้ำท่วมไปแล้วในหลายพื้นที่ ระบบบริหารจัดการน้ำไม่มีความชัดเจน น้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่ ทุกรัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ฯลฯ

อันดับ 2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 27.36% เพราะ นายกฯลงพื้นที่ใกล้ชิด ทำงานอย่างจริงจัง มีหน่วยงานหลายฝ่ายให้ความร่วมมือ คิดว่าปริมาณน้ำไม่มากเท่าปี 54 ฯลฯ

อันดับ 3 ไม่เชื่อมั่น 18.22% เพราะไม่มีการเตรียมพร้อม ไม่มีการรับมือ ภัยธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้ เป็นปัญหาซ้ำซาก น้ำท่วมทุกปี ฯลฯ

อันดับ 4 เชื่อมั่นว่าจะรับมือได้ 15.43% เพราะ มีอำนาจสั่งการ มีกองกำลังทหารในทุกพื้นที่ รัฐบาลเร่งดำเนินการช่วยเหลือ นำเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาเป็นแนวทางในการแก้ไขได้ ฯลฯ

ประชาชนคิดอย่างไร? กับสถานการณ์น้ำท่วมที่เริ่มต้นขึ้นในปีนี้

อันดับ 1 รู้สึกเป็นห่วง กังวล น้ำท่วมหนักหลายพื้นที่ 83.68%

อันดับ 2 เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น 74.56%

อันดับ 3 สร้างความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตร บ้านเรือน และกระทบเศรษฐกิจ 68.29%

อันดับ 4 รัฐบาลต้องแก้ไขปัญหาระยะยาว มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี 67.21%

อันดับ 5 เป็นฝีมือมนุษย์ เห็นแก่ตัว ทำลายธรรมชาติ 53.29

“สาเหตุ" ของปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในประเทศไทย คือ

อันดับ 1 ภัยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม การตัดไม้ทำลายป่า 78.50%

อันดับ 2 การบริหารจัดการน้ำ การระบายน้ำยังไม่มีประสิทธิภาพ 73.16%

อันดับ 3 ขยะอุดตัน ไม่ขุดลอกคูคลอง สิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ 66.13%

          อันดับ 4   เขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ ชำรุด           61.79%

อันดับ 5 ระบบแจ้งเตือน ระบบเตือนภัยไม่มีประสิทธิภาพ 54.76%

“มาตรการป้องกันน้ำท่วม" ที่ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ

อันดับ 1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนรับมือ มีมาตรการฉุกเฉิน เตือนภัย 80.28%

อันดับ 2 ลอกท่อ ขุดลอกคูคลอง เก็บขยะให้พ้นทางน้ำ 79.81%

อันดับ 3 ตรวจสอบเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ประตูระบายน้ำ ซ่อมแซมจุดที่ชำรุด 70.77%

อันดับ 4 ในพื้นที่เสี่ยงควรเตรียมเรือ เครื่องสูบน้ำ กระสอบทราย 60.40%

อันดับ 5 ชี้แจงสถานการณ์น้ำให้ประชาชนได้รับทราบ เตรียมพร้อมป้องกัน 56.69%

บทเรียนที่ได้จากการประสบปัญหาน้ำท่วมในปีที่ผ่าน ๆ มา ที่สามารถนำมาปรับใช้ในปีนี้ คือ

อันดับ 1 ภาครัฐควรวางแผนบริหารจัดการน้ำ ระบายน้ำอย่างรวดเร็ว 79.66%

อันดับ 2 จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ ให้กำลังใจผู้ประสบภัย 73.94%

อันดับ 3 เตรียมของช่วยเหลือสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เช่น อาหาร น้ำดื่ม เสื้อผ้า ยารักษาโรค ฯลฯ 71.93%

อันดับ 4 ดูแลสุขภาพร่างกาย ป้องกันโรคที่มาจากน้ำ 66.98%

อันดับ 5 ติดตามข่าวสาร สภาพอากาศ ฟังการแจ้งเตือนอย่างใกล้ชิด 64.35%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ