กรมป้องกันฯ เผย 36 จังหวัดได้รับผลกระทบจากวาตภัย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 ราย

ข่าวทั่วไป Friday April 20, 2018 11:19 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 13 - 20 เมษายน 2561 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัย 36 จังหวัด 144 อำเภอ 290 ตำบล 655 หมู่บ้าน บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3,758 หลัง ผู้เสียชีวิต 5 ราย แยกเป็น ภาคเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี อำเภอปางศิลาทอง อำเภอไทรงาม และอำเภอคลองขลุง เพชรบูรณ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอบึงสามพัน เชียงใหม่ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่ริม อำเภอสะเมิง อำเภอหางดง และอำเภอเวียงแหง แพร่ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสอง อำเภอร้องกวาง และอำเภอหนองม่วงไข่ นครสวรรค์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอไพศาลี อำเภอหนองบัว และอำเภอบรรพตพิสัย

ลำปาง เกิดวาตภัยในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภองาว อำเภอแม่พริก อำเภอวังเหนือ อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตร อำเภอเมืองปาน อำเภอเกาะคา อำเภอเสริมงาม อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอสบปราบ พิจิตร เกิดวาตภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอสามง่าม อำเภอเมืองพิจิตร อำเภอวชิรบารมี และอำเภอตะพานหิน น่าน เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเวียงสา อำเภอนาหมื่น และอำเภอนาน้อย เชียงราย เกิดวาตภัยในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่สรวย อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงแก่น อำเภอขุนตาล อำเภอเวียงชัย และอำเภอพญาเม็งราย พะเยา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูซาง อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเมืองพะเยา พิษณุโลก เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอชาติตระการ และอุตรดิตถ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอฟากท่า และอำเภอบ้านโคก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ เลย เกิดวาตภัย ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเลย และอำเภอวังสะพุง นครราชสีมา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 15 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจักราช อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอโนนสูง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอเมืองยาง อำเภอสูงเนิน อำเภอปักธงชัย อำเภอหนองบุญมาก อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอพิมาย และอำเภอปากช่อง ร้อยเอ็ด เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออาจสามารถ อำเภอเมืองสรวง อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน ขอนแก่น เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอภูผาม่าน อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอแวงน้อย และอำเภอเขาสวนกวาง

มหาสารคาม เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอพยัฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอแกดำ และอำเภอบรบือ กาฬสินธุ์ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอกมลาไสย สกลนคร เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน หนองคาย เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอเฝ้าไร่ อุบลราชธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น สุรินทร์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอจอมพระ อำเภอปราสาท อำเภอชุมพลบุรี และอำเภอศรีขมรภูมิ ชัยภูมิ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล อำเภอภูเขียว อำเภอบ้านเขว้า อำเภอจัตุรัส อำเภอเทพสถิต และอำเภอแก้งคร้อ

บุรีรัมย์ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอห้วยราช อำเภอสตึก อำเภอนางรอง อำเภอคูเมือง อำเภอหนองกี่ และอำเภอปะคำ อุดรธานี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองหาน อำเภอบ้านผือ อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอกุมภวาปี อำเภอไชยวาน อำเภอพิบูลย์รักษ์ และอำเภอน้ำโสม หนองบัวลำภู เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอศรีบุญเรือง อำเภอโนนสัง และอำเภอเมืองหนองบัวลำภู ศรีสะเกษ เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกันทรลักษณ์ และอำเภอวังหิน บึงกาฬ เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอโซ่พิสัย และมุกดาหาร เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอนิคมคำสร้อย

ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอวังม่วง เพชรบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองหญ้าปล้อง และอำเภอเมืองเพชรบุรี ฉะเชิงเทรา เกิดวาตภัยในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอบางคล้า อำเภอราชสาส์น อำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ราชบุรี เกิดวาตภัย ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโพธาราม อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอปากท่อ อำเภอบ้านคา และอำเภอบ้านโป่ง สระแก้ว เกิดวาตภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวัฒนานคร อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอเมืองสระแก้ว และอำเภอโคกสูง และลพบุรี เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำสนธิ อำเภอชัยบาดาล และอำเภอพัฒนานิคม

ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ ตราด เกิดวาตภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขาสมิง อำเภอบ่อไร่ และอำเภอแหลมงอบ

กรมป้องกันฯ ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น โดยแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค กระเบื้องมุงหลังคา และวัสดุอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านเรือนแก่ผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ โดยด่วนแล้ว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ