ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงภัยตั้งแต่ 12 ก.ค. – ปัจจุบัน มีจำนวน 35 จังหวัด แบ่งเป็น ด้านพืช 31 จังหวัด เกษตรกร 152,378 ราย พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 1,059,885 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 801,671 ไร่ พืชไร่ 108,293 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 149,921 ไร่ ด้านประมง 25 จังหวัด เกษตรกร 9,284 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ ได้แก่ บ่อปลา บ่อกุ้ง ปูหอย จำนวน 9,567 บ่อ รวมพื้นที่ 6,544 ไร่กระชัง 900 กระชังรวมพื้นที่ 16,414 ตรม.
ด้านปศุสัตว์ 13 จังหวัด เกษตรกร 10,211 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 177,969 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 29,858 ตัว สุกร 3,005 ตัว แพะ 1,061 ตัว สัตว์ปีก 144,045 ตัว แปลงหญ้า 816 ไร่
ในด้านการให้ความช่วยเหลือ ได้มีการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 21 เครื่อง ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด นครพนม สกลนคร และบึงกาฬ, สนับสนุนเครื่องผลักดันน้ำ 26 เครื่อง ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม สกลนคร และอุบลราชธานี, สนับสนุนเสบียงสัตว์ 447,800 กิโลกรัม และอพยพสัตว์ไปยังพื้นที่สูง 44,461 ตัว ดูแลสุขภาพสัตว์ 4,316 ตัว
ขณะที่ข้อมูลสถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 29 ส.ค.61 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้าขนาดใหญ่และขนาดกลาง (447 แห่ง) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 56,435 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 74% (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 32,531 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 62%) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2560 (50,798 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 67%) มากกว่าปี 2560 จำนวน 5,637 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 519.02 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 337.37 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 19,686 ล้าน ลบ.ม.
โดยสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (35 แห่ง) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 53,271 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 75% (ปริมาตรน้ำใช้การ ได้ 29,727 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63%) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2560 (47,287 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 67%) มากกว่าปี 2560 จำนวน 5,984 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 451.73 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 257.67 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 17,701 ล้าน ลบ.ม.
ส่วนสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักชลสิทธิ์ รวม 4 อ่างฯ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 16,069 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 65% (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 9,374 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 52%) ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 155.79 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำระบาย 73.91 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 8,801 ล้าน ลบ.ม.
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป ของความความจุอ่างฯ จำนวน 7 อ่างฯ คือ อ่างฯน้ำอูน (110%) อ่างฯศรีนครินทร์ (90%) อ่างวชิราลงกรณ์ (93%) อ่างฯขุนด่านปราการชล (88%) อ่างฯแก่งกระจาน (107%) อ่างฯปราณบุรี (82%) อ่างฯรัชชประภา (87%)
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่างฯ ได้แก่ อ่างฯทับเสลา (25%) อ่างฯอุบลรัตน์ (28%)