นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาถึงการดำเนินโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ มูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอย่างเป็นระบบ (Area Based) ในปี 2562 ที่พร้อมดำเนินการมีทั้งสิ้น 11 โครงการ รวมวงเงินทั้งสิ้นประมาณ 73,679 ล้านบาท โดย 4 โครงการได้ผ่านการพิจารณาของ กนช.แล้ว คือ โครงการ ประตูระบายน้ำศรีสองรัก อันเนื่องมาจากพระราชด้าริ จ.เลย/ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จ.หนองคาย โครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี จ.ชัยภูมิและ/โครงการบรรเทาอุทกภัย เมืองชัยภูมิ (ระยะที่1) คงเหลือที่จะเสนอเพิ่มเติมอีก 7 โครงการที่มีความจ้าเป็นเร่งด่วนและมีความพร้อมที่จะด้าเนินการ เช่น โครงการอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองแสนแสบ
นอกจากนี้ สทนช.ได้จัดลำดับความสำคัญในการพิจารณาแผนงานงบประมาณโครงการพระราชดำริที่มีความพร้อมเป็นลำดับแรก ซึ่งสามารถจัดกลุ่มแนวทางการขับเคลื่อนโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและยังไม่ได้ด้าเนินการ ประกอบด้วย 1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จำนวน 78 โครงการ 2. โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 จ้านวน 22 โครงการ และ 3. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จ้านวน 62 โครงการ โดยจะต้องจัดทำแผนการพัฒนาโครงการพระราชดำริทั้งหมดเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ขยายแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจาก 12 ปี เป็น 20 ปี ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และปรับชื่อใหม่ เป็นแผนแม่บท ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายใหม่เพิ่มเติมรายยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาและขยายเขตระบบประปา เพิ่มประสิทธิภาพประปาครบทุกหมู่บ้าน ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มผลิตภาพการใช้น้ำ และเพิ่มน้ำต้นทุนโดยปฏิบัติการฝนหลวง ยุทธศาสตร์ที่ 3 บรรเทาอุทกภัยระดับลุ่มน้ำอย่างเป็นระบบทุกลุ่มน้ำป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเมือง 764 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 1.7 ล้านไร่ ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย 105 แห่ง ยุทธศาสตร์ที่ 5 การป้องกันและลดการ ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำ 0.45 ล้านไร่ และยุทธศาสตร์ที่ 6 การจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนเจรจาความร่วมมือด้านน้ำกับต่างประเทศ โดยกำหนดเสนอร่างแผนในเดือนตุลาคมและจะได้น้าเสนอ กนช. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งต่อไป
นายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ขนะนี้พายุดีเปรสชั่น บารีจัต ได้สลายตัวแล้ว แต่ยังเหลือไต้ฝุ่น มังคุด ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักในทุกพื้นที่ของประเทศไทยจนถึงวันที่ 19 กันยายนนี้ จึงขอให้ประชาชนเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งและดินโคลนถล่ม ซึ่งศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์ฝนเพื่อปรับแผนการระบายน้ำ เพื่อป้องกันระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นจนท่วมบ้านเรือนประชาชน
ด้านพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธาน กนช. กล่าวว่า ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้เร่งรัดการบริหารจัดการน้ำ โดยปรับวิธีการทำงานให้ทุกหน่วยงานมาบูรณาการร่วมกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนขับเคลื่อนผ่าน 3 เสาหลัก คือ กฎหมาย เช่น ร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สนช.ในวาระ 2 และ 3 ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีนี้, จัดตั้งองค์กลางเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนงานทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น กนช. และ สทนช. รวมไปถึงแผนบริหารจัดการน้ำ 20 ปี ซึ่งหลังจากนี้จะเริ่มเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการสำคัญกว่า 300 โครงการ ตามแผนระยาว ปี 2557-2569 เพื่อลดผลกระทบด้านน้ำแก่ประชาชน ดังนั้นฝากให้รัฐบาลชุดต่อไป สานต่อแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อไม่ให้งานสะดุด รวมทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน