กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชี้แจง ข่าวลือเรื่อง เตือนภัยพายุที่จะเข้าสู่อ่าวไทย และภาคใต้ ว่า ตามที่ ได้มีการแพร่ข่าวเรื่องเตือนภัยพายุที่จะเข้าสู่อ่าวไทย และภาคใต้นั้น ได้มีการนำแบบจำลองสภาพอากาศจากคอมพิวเตอร์ มาคาดการณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนล่วงหน้า โดยระบุว่า จะมีพายุเกิดขึ้นในบริเวณทะเลจีนใต้แล้วจะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยและภาคใต้ แล้วพายุนี้จะมีความรุนแรงอาจเท่าพายุแฮเรียต ที่เคยเข้าแหลมตะลุมพุกนั้น และมีผลกระทบทาให้เกิดฝนตกหนัก ลมแรง และเกิดน้าท่วม กรมอุตุนิยมวิทยา มีข้อแนะนาแก่ประชาชนและชี้แจงดังนี้ คือ การเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำในช่วงของฤดูหนาวแถวทะเลจีนใต้ตอนล่างใกล้กับเกาะบอเนียวนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อมีระลอกของอากาศหนาวหรือบริเวณความกาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ขยายลงมาปกคลุมประเทศไทย อาจทำให้หย่อมความกดอากาศต่าบริเวณเกาะบอเนียว ซึ่งอาจจะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยและภาคใต้ได้ โดยเป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำหรือพัฒนาเป็นดีเปรสชัน
แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากระยะเวลาการพยากรณ์นั้นนานมาก แบบจำลองจะมีจุดอ่อน มีความคลาดเคลื่อนและความไม่แน่นอนอยู่มาก และการเกิดพายุหมุนเขตร้อนนั้น ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ในการวิเคราะห์อีกมาก เช่น อุณหภูมิผิวน้ำทะเล ความกดอากาศบริเวณศูนย์กลาง ลมในหลายระดับ เพื่อให้มีความถูกต้องมากที่สุด
ซึ่งทาง กรมอุตุนิยมวิทยา ได้เฝ้าติดตามการเกิดพายุตลอดเวลาไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้อง บนพื้นฐานหลักวิชาการ และขอให้เชื่อมั่นว่าทางกรมอุตุนิยมวิทยาจะสามารถเตือนภัยได้ทันเหตุการณ์อย่างแน่นอน จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 16-17 พ.ย. 61 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดขึ้นในบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง และมีแนวโน้มว่าจะเคลื่อนผ่านบริเวณปลายแหลมญวนเข้าสู่อ่าวไทย และภาคใต้ในช่วงวันที่ 18-19 พ.ย. 61 ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีการประชุม วิเคราะห์ข้อมูล และติดตามสถานการณ์ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงขอให้ประชาชน ติดตามข้อมูลการพยากรณ์อากาศและการแจ้งเตือนภัยจากหน่วยราชการเท่านั้น ในการประกาศแจ้งเตือนจะมีรายละเอียด วันและเวลาที่แน่นอน และขอให้อย่าได้ตื่นตะหนกจากข้อมูลที่ไม่ได้มาจากผู้ทางานรับผิดชอบโดยตรง หรือการส่งต่อกันตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ และสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วน 1182 และหมายเลขโทรศัพท์ 0 2399 4012-3 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th/