นักกม.ฝากรัฐบาลใหม่กำหนดแนวทาง กม.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล-กม.รักษาความมั่นคงทางไซเบอร์หวั่นกระทบสิทธิประชาชน

ข่าวทั่วไป Monday June 17, 2019 18:01 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายดิจิทัล ฝากการบ้านถึงว่าที่รัฐมนตรีใหม่ ว่า จากนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงดีอีที่จะขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยกฎหมายดิจิทัลที่มีผลบังคับใช้ในช่วงปลายรัฐบาลมี 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงทางไซเบอร์ จากนี้จึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงดีอีที่จะขับเคลื่อน

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวของกับหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวกับประชาชนจึงต้องมีการวางข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII) ที่อาจจะร่างเป็นข้อปฏิบัติหรือหลักการที่เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ Cyber security solution

"กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่ละเอียดอ่อนมาก กระทบต่อประชาชนและภาคธุรกิจทั้งไทยและต่างประเทศ อยากให้ร่วมกับภาคเอกชน แต่ละภาคส่วนทำข้อปฎิบัติหรือหลักการทางจริยธรรม (Code of Conduct หรือ Code of practice) ในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเสนอเข้าไปในคณะกรรมการก็ควรจะเข้าใจการทำธุรกิจและเป็นผู้เชี่ยวชาญเพราะรู้ปัญหาในทางปฏิบัติจริงๆ

ในส่วนการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการไซเบอร์แห่งชาติ หรือ กมช ส่วนของพ.ร.บ.การคุ้มครองข้อมูล กฎหมายกำหนดให้ตั้งสำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การคัดเลือกบุคคลเข้ามาดูแลในสองส่วนนี้จะต้องได้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากภาคธุรกิจ โดยจะต้องเข้าใจบริบทของเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะ กมช.มีวาระการดำรงตำแหน่งถึง 4 ปี จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้ผูเชี่ยวชาญจริงๆ ต้องไม่ลืมว่าแนวคิดของกฎหมาย คือ การพัฒนา และส่งเสริมเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ของไทยตามเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยไม่ควรไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ