นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบตามที่ศูนย์ อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) เสนอแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2563 เพื่อให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จังหวัด อำเภอ และกรุงเทพมหานคร ใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการฯ โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.การรณรงค์ภายใต้หัวข้อ "ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร" ได้กำหนดช่วงการดำเนินการเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้
ช่วงเวลา แนวทางการดำเนินการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 2 มกราคม 2563 ช่วงการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจัดทำแผน งาน/กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างจริง จังและต่อเนื่อง ผ่านทุกช่องทางการสื่อสารเพื่อให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย 1-26 ธันวาคม 2562 ช่วงเตรียมความพร้อม - ให้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ฯ เพื่ออำนวย การ ควบคุม กำกับ ดูแล และติดตามประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่ - ให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จังหวัด และกองบัญชาการตำรวจ นครบาลจัดทำแผนปฏิบัติการ(Action plan) เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน - ให้ ศปถ. จังหวัดและกรุงเทพมหานคร บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนดำเนินการ ในลักษณะยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area Approach) 27 ธันวาคม 2562 - 2 มกราคม 2563 ช่วงควบคุมเข้มข้น ให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จังหวัดและกรุงเทพมหา นคร เพิ่มความเข้มข้นโดยเน้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง และให้จัดตั้งจุดตรวจ/จุดบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน รวมทั้งจัด เตรียมความพร้อมด้านการ ตอบสนองหลังการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนได้อย่างทันท่วงที 2. การกำหนดระดับความเสี่ยงของสถานการณ์อุบัติเหตุ เป็น 4 ระดับ โดยกำหนดจากสถิติจำนวนครั้งการเกิด อุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง (ปี 2560-2562) ดังนี้ ระดับความเสี่ยง จำนวนอำเภอ ระดับความเสี่ยงสีแดง 34 ระดับความเสี่ยงสีส้ม 138 ระดับความเสี่ยงสีเหลือง 664 ระดับความเสี่ยงสีเขียว 42 3. การกำหนดมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดย ศปถ. ได้กำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วม กับทุกภาคส่วนในลักษณะยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area Approach) เพื่อการดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวม 7 มาตรการ ได้แก่ มาตรการ สาระสำคัญ 3.1 การลดปัจจัยเสี่ยงด้านคน - บังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวด จริงจัง และต่อเนื่อง - รณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนน 3.2 การลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสภาพแวดล้อม - ดำเนินมาตรการ "1 ท้องถิ่น 1 ถนนปลอดภัย" - สำรวจตรวจสอบลักษณะกายภาพของถนน จุดเสี่ยง จุดอันตราย เพื่อปรับ ปรุงซ่อมแซม รวมทั้งตรวจสอบสิ่งอันตรายข้างทาง - แก้ไขปัญหาบริเวณจุดตัดทางรถไฟให้มีความปลอดภัยในการสัญจร - เตรียมช่องทางพิเศษ ทางเลี่ยงทางลัด ติดตั้งเครื่องหมายและป้ายเตือน 3.3 การลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ - กำกับ ควบคุม ดูแลรถโดยสารสาธารณะดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย - เข้มงวด กวดขันกับผู้ใช้รถกระบะที่บรรทุกน้ำหนักเกิน รถยนต์ตู้ส่วนบุคคล หรือรถเช่า ให้มีมาตรฐานความปลอดภัย 3.4 การช่วยเหลือหลังเกิดอุบัติเหตุ - เตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และหน่วยบริการการ แพทย์ หน่วยกู้ชีพและกู้ภัย - ประชาสัมพันธ์ระบบการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ผู้ประสบเหตุควรจะได้รับ เช่น ช่องทางการแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน การจ่ายค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบ e-claim และการจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายใน 24 ชั่วโมง 3.5 การดูแลความปลอดภัยทางน้ำ - จัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยทางน้ำ ทั้งในส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค - ตรวจสอบความปลอดภัยของเรือโดยสารและโป๊ะเทียบเรือ และจัดเจ้า หน้าที่ประจำท่าเทียบเรือ 3.6 การดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว - เข้มงวด กวดขัน ดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวเป็นพิเศษตั้งแต่ สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ สนามบิน และเส้นทางที่เข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวให้เดินทางอย่างระมัด ระวังและเคารพกฎจราจร 3.7 การบริหารจัดการ - ให้จัดตั้งศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ฯ เพื่อ อำนวยการควบคุม กำกับ ดูแล และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติการฯ - ให้จังหวัดและกรุงเทพมหานครดำเนินการตามมาตรการ "ตรวจวัดระดับ แอลกอฮอล์" อย่างเข้มข้น - ให้คณะทำงานวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุทางถนนตรวจสอบข้อเท็จ จริงกรณีการเกิดอุบัติเหตุทางถนน