นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซประเทศไทย พร้อมด้วยเครือข่ายและภาคประชาสังคมกว่า 60 คน นัดรวมตัวกันบริเวณหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลลงมือทำเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนจากวิกฤตฝุ่น PM2.5 โดยดำเนินมาตรการที่สอดคล้อง มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและเป็นธรรม รวมถึงการยกระดับมาตรฐาน PM2.5 ให้เข้มงวด ตลอดจนการปฏิรูปนโยบายสิ่งแวดล้อม เช่น กฎหมายอากาศสะอาด กฎหมายทำเนียบการเคลื่อนย้ายและปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม
กลุ่มกรีนพีซ ระบุในแถลงการณ์ว่า รัฐบาลต้องปรับ"มาตรฐาน PM 2.5 ในบรรยากาศ"ของประเทศไทยให้ใกล้เคียงกับเป้าหมายชั่วคราวที่ 3 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง คือ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) และค่าเฉลี่ยรายปีคือ 12 มคก./ลบ.ม.ภายใน พ.ศ.2563 ในขณะเดียวกัน เพื่อลดปริมาณฝุ่นพิษ PM 2.5 ในสิ่งแวดล้อม รัฐบาลต้องเน้นมาตรการลดการปล่อยจากแหล่งกำเนิดมลพิษ ซึ่งจนถึงปัจุบันยังไม่เคยมีกฎหมายกำหนดมาตรฐานการปล่อยฝุ่นพิษ PM 2.5 จากแหล่งกำเนิดมลพิษหลัก ทั้งโรงไฟฟ้า โรงงานอุดสาหกรรมหรือกระทั่งรถยนต์
สำหรับการลดปริมาณฝุ่นพิษ PM2.5 ในเมืองใหญ่ รัฐบาลต้องตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยๆ 9 ตารางเมตรต่อคน และนอกจากเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะแล้ว ให้นำพื้นที่จากหน่วยงานรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือเป็นหน่วยงานกลางเมืองที่ประชาชนไม่ได้ติดต่อเป็นประจำย้ายไปนอกเมืองและสร้างสวนธารณะขึ้นแทน
การแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 จากภาคเกษตรกรรม ยังเกิดจากการส่งเสริมบทบาทกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่ทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษทางอากาศและการใช้สารเคมีการเกษตรร้ายแรงของประเทศยังไม่ได้รับการเก้ไข ซึ่งมาตรการของรัฐบาลที่ให้มีการลดการเผาจำเป็นต้องดำนินการอย่างเข้มข้นทั้งในแง่การใช้มาตรการที่เข้มงวดให้ผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานยุติการรับซื้อผลผลิตที่มาจากการเผาทั้งในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนการพัฒนาทคโนโลยีในการจัดการเศษซาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อพื้นฟูพัฒนาดิน
กลุ่มกรีนพีซ มองว่า ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติลงโทษ แต่รากเหง้าของปัญหามาจากการพัฒนาที่ผิดทิศทาง และไม่มีมาตรการป้องกันทางสิ่งแวดล้อมรองรับก่อนการตัดสินใจอย่างเพียงพอ ซึ่งมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวที่ออกมาอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่ไม่ได้ผล
ทางออกจากวิกฤตนี้นอกจากการรับมือเฉพาะหน้าแล้ว ต้องอาศัยการทำงานในระยะยาวและการบังคับใช้กฏหมาย เช่น 1.กฎหมายกำหนดค่ามาตรฐานการปลดปล่อย PM 2.5 จากแหล่งกำนิดมลพิษหลัก ทั้งโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมหรือรถขนต์ 2.การจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลทิษ 3. กฏหมายว่าด้วยการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ที่คำนึงถึงความสามารถในการรองรับของมลพิษในพื้นที่และผลกระทบข้ามพรมแดน 4.กฎหมายกำหนด ระยะแนวกันชนระหว่างแหล่งกำนิดมลพิษกับชุมชน 5.การดึงหลักเศรษฐศาสตร์เข้ามาใช้เพื่อจัดการปัญหามลพิษ เช่น มาตรการภาษีสิ่งแวดล้อม ค่าธรรมเนียมการจัดการมลพิษ การประกันความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมกับมาตรการเชิงบังคับควบคุมที่ต้องใช้ประมาณมาก แต่ไม่เพียงพอในการจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
ทั้งนี้ ทางกลุ่มกรีนพีซ เห็นว่า หากประเทศไทยเริ่มต้นในการถอดรื้ออุปสรรคเชิงโครงสร้างการบริหารจัดการสิ่งแวคล้อมในทิศทางที่ถูกต้อง ก็จะสามารถฝ่าวิกฤตมลพิษทางอากาศได้ เพื่อสุขภาวะที่ดีและการพัฒนาเศรฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรมในสังคมไทย