สำหรับในภาคขนส่งและโลจิสติกส์นั้น มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ สนับสนุนการตรวจสอบสภาพรถ การทำความสะอาดท่อไอเสีย และห้ามรถที่ปล่อยควันดำวิ่งออกนอกโรงงาน, มีมาตรการสนับสนุนให้รถยนตร์ใช้น้ำมันดีเซล B10 และ B20 และมีมาตรการสนับสนุนโครงการการปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์ ทั้งการหา Model และหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการฯ อาทิ การสนับสนุนค่าแรง การเปลี่ยนอะไหล่ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
ส่วนมาตรการระยะยาว เสนอนโยบายให้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) สำหรับรถสาธารณะ เช่น รถประจำทาง รถแท็กซี่ และรถจักรยานยนต์รับจ้าง
ขณะที่มาตรการระยะเร่งด่วนในภาคอุตสาหกรรมนั้น ได้แก่ ขอความร่วมมือให้โรงงานทำกระบวนการผลิตในการปรับหัวเผาไหม้ (Burner) ของหม้อไอน้ำ (Boiler) ให้มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ, ขอความร่วมมือให้โรงงานทำการตรวจติดตามและป้องกันผลกระทบ, ขอความร่วมมือให้โรงงานอุตสาหกรรมทำความสะอาด (Big Cleaning) และให้มีการหยุดซ่อมบำรุงตามตารางดำเนินการ และในช่วงวิกฤต รวมถึง ตรวจสอบ ซ่อมบำรุง,ทำความสะอาดอุปกรณ์กำจัด/บำบัดฝุ่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องกรองฝุ่นหรือดักฝุ่น และจัดทำข้อมูลรายการชนิดของแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองของโรงงาน เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์จุด Hot Spot ที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น และเพิ่มมาตรการในการตรวจติดตามและป้องกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการตรวจวัดปล่องระบายอากาศ จุดที่ทำให้เกิดฝุ่นให้ถี่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อควบคุมและลดผลกระทบ
ในระยะยาว ส.อ.ท.จะขอความร่วมมือผ่านภาครัฐกับบริษัท Huawei ซึ่งมีประสบการณ์ในการสำรวจพื้นที่ในประเทศจีนว่ามีฝุ่นละออง (PM) ขนาดใดบาง ตามวิธีดำเนินการ เพื่อวางแนวทางแก้ไขฝุ่นละออง (PM) ของประเทศไทย ในระยะยาว, ให้มีการใช้เชื้อเพลิงสะอาดในอุปกรณ์และเครื่องจักรของโรงงาน รวมทั้ง การขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ เช่น ก๊าซธรรรมชาติ เพื่อลดปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน และขอการส่งเสริมเพื่อการสนับสนุนโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ให้มากขึ้น
สำหรับภาคเกษตร มีข้อเสนอแนะ ได้แก่ ให้มีการร่วมตวัและแบ่งปันอุปกรณ์เครื่องมือทางการเกษตร ในรูปเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) ในแต่ละจังหวัดจัดทำเป็นรายพื้นที่ โดยนำรูปแบบของจังหวัดชัยนาทมาเป็นต้นแบบในการดำเนินการ ซึ่งมีการร่วมกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ และใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการเก็บเกี่ยวร่วมกัน, ขอให้ภาครัฐให้เกษตรกรสามารถกู้ยืมเต็มจำนวนในการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรโดยผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หรือผ่านกองทุนหมู่บ้าน, ขอให้ภาครัฐสนับสนุนการซื้อเครื่องจกัรกลการเกษตร โดยวิธีการใช้งบประมาณกองทุนหมู่บ้าน 50% และเกษตรกรจ่ายเอง 50% และสนับสนุนการวางแผนการปลูกพืช (Crop Planning) โดยกำหนดให้มีระยะเวลาปลูกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวไม่พร้อมกัน และส่งผลดีกับการบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตรที่ใช้งานร่วมกันในพื้นที่ โดยจัดสรรน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะการปลูกอ้อยและข้าวโพด