นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า กอนช.ได้ติดตามสถานการณ์ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ซึ่งพบว่าน้ำทะเลหนุนสูงกว่าปกติมากกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้ค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์ฝ้าระวัง และเกินมาตรฐานน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปาในบางช่วงเวลา
กอนช. ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ โดยกรมชลประทาน ได้เพิ่มการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจาก 70 ลูกบาศก์เมตร /วินาที เป็น 80 ลูกบาศก์เมตร/วินาที เมื่อวันที่ 4-6 เมย.ที่ผ่านมา เพื่อช่วยผลักดันความเค็มในช่วงที่น้ำทะเลหนุน 9-12 เม.ย. และปัจจุบันได้เพิ่มการระบายจากเขื่อนพระรามหกเป็น 10 ลูกบาศก์เมตร/วินาที ขณะเดียวกัน ได้ดำเนินการร่วมกับการประปานครหลวง (กปน.) ในการกระแทกลิ่มความเค็มในแม่น้ำเจ้าทระยา (water hammer) เพื่อลดการรุกล้ำของน้ำเค็มที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นจุดรับน้ำดิบของ กปน. ส่งผลทำให้ไม่กระทบต่อคุณภาพน้ำประปาและประชาชน
ทั้งนี้ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ องค์การมหาชน (สสน.) คาดการณ์ในช่วงวันที่ 17 - 18 เม.ย. 63 ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง คือในช่วง 0.25-0.5 กรัม/ลิตร และอาจมีค่าความเค็มเกินมาตรฐานน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำประปามากกว่า 0.50 กรัม/ลิตร ได้ในบางช่วงเวลา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ กอนช.จะปฏิบัติการต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาด้วย
นอกจากนี้ กอนช.ได้มีการติตตามและประเมินสถานการณ์ฝนที่ตกมาในชณะนี้ส่งผลดี เนื่องจากช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศ โดยพบว่า ตั้งแต่ 1มี.ค.- 14 เมย. 63 มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศรวมแล้วกว่ 583 ล้านลูกบาศก์เมตร สูงสุดที่ภาคใต้ปริมาณน้ำ 241 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคเหนือ 132 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันตก 98 ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 82 ล้านลูกบาศก์เมตรตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้มีปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างฯขนาดใหญ่ต่างๆ เพิ่มขึ้น อาทิ เขื่อนภูมิพลมีน้ำไหลลงอ่างฯ 13 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ 87 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนอุบลรัตน์ 16 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นต้น
ขณะเดียวกัน กอนช.ยังได้คาดการณ์ปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างฯ ในช่วง 1 เม.ย. - 30 มิย. 63 คาดว่าจะมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯประมาณ 4,269 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่ง กอนช.ได้นั้นย้ำหน่วยงานที่รับผิดชอบแหล่งน้ำทุกแห่ง เร่งแผนก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด บริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนสำองไว้สำหรับฤดูแล้งหน้ และเกิดความมั่นคงน้ำในอนาคต