สำหรับรูปแบบการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ของสถานีตำรวจขนาดใหญ่ จะใช้กำลังตำรวจ 12 นาย ประกอบด้วย หัวหน้าชุด 1 นาย ชุดคัดเลือกรถเพื่อมาตรวจสอบ 2 นาย ชุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ 3 นาย ชุดป้องกันการหลบหนี 4 นาย ชุดคุ้มกันเจ้าหน้าที่ตรวจวัดแอลกอฮอลล์ 1 นาย ชุดควบคุมผู้ต้องหา จำนวน 1 นาย
โดยมีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้
1.หลักการและแนวทางในการตั้งจุดตรวจ ต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับ ผบก.ขึ้นไป ละมีแผนการปฎิบัติที่ชัดเจน จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีป้ายแสดงถึงมาตรฐานการตรวจวัดแอลกอฮอล์ ตั้งไว้ตรงบริเวณใกล้โต๊ะตรวจวัดในลักษณะที่ผู้รับการตรวจวัดมองเห็นได้ชัดเจน
2.การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
3.แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริต จัดโต๊ะสำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์แบบยืนยันผลให้มีแสงสว่างมากพอ มีป้ายไว้ตรงบริเวณจุดตรวจวัดฯ มีข้อความว่า "จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ สน./สภ? มีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลไว้เป็นหลักฐาน เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นมาตรฐานสากล"
เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้ว ให้หัวหน้าจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ รายงานผลการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ให้หัวหน้าสถานีตำรวจจัดทำระบบจัดเก็บไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลการตรวจวัดแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจวัดฯ ในภายหลัง
และจัดให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า "หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับการ โทร.(ให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์มือถือของ ผบก.ไว้) หรือ แจ้งร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ สายด่วน หมายเลข 1599" ข้อความดังกล่าวข้างต้นให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร
ทั้งนี้ เมื่อคณะได้ทำการตรวจสอบการตั้งจุดตรวจทดลองในครั้งนี้แล้ว จะทำการพิจารณาเพื่อสรุปข้อมูลว่าการตั้งจุดตรวจเป็นไปตามแนวทางของ ผบ.ตร.ที่ได้มอบนโยบายไว้หรือไม่ ซึ่งหากเป็นไปตามแนวทาง จะได้นำเสนอเพื่อกำหนดเป็นแนวทางให้ทุกหน่วยในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป