นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ชุดใหญ่วานนี้เห็นชอบแผนกระจายวัคซีนจำนวน 200,000 โดสแรกที่ จะได้รับในวันที่ 24 ก.พ.64 ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด, พื้นที่ควบคุม และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและ สังคม รวม 13 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร จำนวน 7 หมื่นโดส, กทม.(ฝั่งตะวันตก) จำนวน 6.6 หมื่นโดส, ปทุมธานี จำนวน 8 พันโด ส, นนทบุรี จำนวน 6 พันโดส, สมุทรปราการ จำนวน 6 พันโดส, ตาก (อ.แม่สอด) จำนวน 5 พันโดส, นครปฐม จำนวน 3.5 พันโด ส, สมุทรสงคราม จำนวน 2 พันโดส, ราชบุรี จำนวน 2.5 พันโดส, ชลบุรี จำนวน 4.7 พันโดส, ภูเก็ต จำนวน 4 พันโดส, สุราษฎร์ ธานี (อ.เกาะสมุย) จำนวน 2.5 พันโดส และ เชียงใหม่ จำนวน 3.5 พันโดส รวม 183,700 โดส และเหลือสำรองสำหรับควบคุม การระบาดและบุคลากรในโรงพยาบาลที่รักษาผุ้ป่วยโควิด-19 จำนวน 16,300 โดส
สำหรับ 4 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
2.บุคคลที่มีโรคประจำตัว อาทิ
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
- โรคเบาหวาน
- โรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตร.ม.
3.ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
4.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
ทั้งนี้ มอบหมายให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณาจัดสรรจำนวนวัคซีนให้แต่ละกลุ่มเป้าหมายตามสถานการณ์และบริบท ของพื้นที่
สำหรับระยะที่ 2 เมื่อวัคซีนมีมากขึ้น และเพียงพอ จะขยายไปอีก 7 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเป้าหมายในระบะที่ 1, บุคลากรทาง การแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ ที่นอกเหนือจากด่านหน้า, ผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม สถานบันเทิง มัคคุเทศก์ นักกีฬา, ผู้เดินทางระหว่างประเทศ เช่น นักบิน/ลูกเรือ นักธุรกิจระหว่างประเทศ, ประชาชนทั่วไป, นักการทูต เจ้าหน้าที่ องค์กรระหว่างประเทศ นักธุรกิจต่างชาติ คนต่างชาติพำนักระยะยาว, แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ
แผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ประเทศไทย พ.ศ.2564 ซิโนแวก วัคซีนของบริษัท ไซโนแวค ไบโอเทค จำนวน 2 ล้านโดส ช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย.64 200,000 โดส วันที่ 24 ก.พ. 64 800,000 โดส เดือนมี.ค.64 1,000,000 โดส เดือนเม.ย.64 แอสตราเซนเนกา วัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซเนก้า จำนวน 26 ล้านโดส ช่วงเดือน มิ.ย.-ส.ค.64 6,000,000 โดส เดือนมิ.ย.64 10,000,000 โดส เดือนก.ค.64 10,000,000 โดส เดือนส.ค.64 แอสตราเซนเนกา วัคซีนของบริษัท แอสตร้าเซเนก้า จำนวน 35 ล้านโดส ช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค.64 10,000,000 โดส เดือนก.ย.64 10,000,000 โดส เดือนต.ค.64 10,000,000 โดส เดือนพ.ย.64 5,000,000 โดส เดือนธ.ค.64
สำหรับการวางแผนให้บริการวัคซีนโควิด-19 ในโรงพยาบาลเป้าหมาย นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า โรงพยาบาลในสังกัด กระทรวงสาธารณสุขที่มีกว่า 1,000 แห่ง แต่ละแห่งจะสามารถให้บริการฉีดวัคซีนได้ 500 โดส/วัน โดยจะได้ประมาณ 20 วันทำการ/ เดือน โดยในสัปดาห์แรกจะจัดบริการใน 50 โรงพยาบาล เริ่มจาก 100 - 200 โดส/วัน ส่วนระยะต่อไปพิจารณาขยายการให้บริการให้ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ