สธ.เปิดแผนกระจายวัคซีนช่วงมี.ค.-ส.ค. มั่นใจกระจายครอบคลุมเป้าหมาย 77 จังหวัด

ข่าวทั่วไป Friday March 26, 2021 17:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มั่นใจว่าแผนการกระจายและการฉีดวัคซีนใน ช่วงระยะต่อไปจะดำเนินการได้ตามเป้าหมายและกระจายไปอย่างทั่วถึงมากขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                              แผนการกระจายและฉีดวัคซีน

                              มี.ค.        เม.ย.        พ.ค.        มิ.ย.        ก.ค.        ส.ค.
จำนวนวัคซีน                   300,000     800,000     1,000,000   6,000,000  10,000,000  10,000,000
เป้าหมายการฉีด                200,000     500,000       900,000   3,500,000   8,000,000  10,000,000
สถานพยาบาล                    30          100          200        1,000       1,500       1,500
จำนวนเฉลี่ยต่อสถานพยาบาล/เดือน   6,600       5,000        4,500       3,500       5,300       6,600
จำนายเฉลี่ยต่อสถานพยาบาล/วัน      330         250          225         175         265         330
จำนวนจังหวัด                    13          77           77          77          77          77
"การฉีดวัคซีนขึ้นกับยอดที่ได้รับมา โดยมั่นใจว่าไม่เกินเป้าหมายและศักยภาพที่จะรับได้ และจะกระจายไปให้มากที่สุด"

นพ.โสภณ กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.64 จนถึงปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว 136,190 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มแรก 121,392 ราย คิดเป็น 98.8% วัคซีนเข็มสอง 14,798 ราย คิดเป็น 12% โดยพบผู้มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงที่ได้รับ การยืนยันจากคณะผู้เชี่ยวชาญเพียง 2 รายเท่านั้น

รายแรกเป็นหญิงอายุ 26 ปีที่ จังหวัดสมุทรสาคร มีประวัติแพ้กุ้งและไรฝุ่น หลังฉีดวัคซีน 10 นาที เกิดผื่นแดงคันบริเวณที่ฉีด และศรีษะ แดงร้อนบริเวณหูและใบหน้า หูและตาบวมเล็กน้อย ต่อมามีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น หายใจไม่ สะดวก หลังได้รับยาทางหลอดเลือดดำและพักสังเกตอาหารที่ห้องฉุกเฉินประมาณ 4 ชั่วโมงอาการดีขึ้น กลับบ้านได้

รายที่สองเป็นหญิงอายุ 30 ปีที่จังหวัดราชบุรี ปฏิเสธประวัติโรคประจำตัวและประวัติแพ้ยาหรือแพ้อาหาร หลังฉีด 30 นาที มี ผื่นนูนแดงขึ้นบริเวณคอ หลัง แขน หน้าอก คันทั้งตัว รู้สึกว่าหน้าบวม คลื่นไส้แต่ไม่อาเจียน จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อย หลังได้รับยาทางหลอดเลือดดำและรับไว้สังเกตอาการที่โรงพยาบาล 1 คืน อาการดีขึ้น กลับบ้านได้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ทั่วโลกจะมีการฉีดวัคซีนไปแล้วราว 500 ล้านโดส แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในบาง ประเทศยังมียอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่อยู่ในระดับสูง เช่น บราซิลที่มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 17 ล้านโดส หรือ 5% ของประชากรทั้งประเทศ แต่ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 1 แสนราย ชี้ให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกัน การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ทั้งหมด ประชาชนยังมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตัวตามหลักชีวอนามัย คือ สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้น ระยะห่าง ไม่ไปอยู่ในที่แออัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ประเทศไทยยึดถือปฏิบัติต่อเนื่องส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศสามารถควบ คุมได้ โดยยอดผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มลดลงจนสามารถทยอยปิด รพ.สนาม ไปแล้วหลายแห่ง เนื่องจากสถานพยาบาลตามปกติมี เพียงพอที่จะให้บริการ

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.64 ศบค.กำหนดให้ปรับลดระยะเวลากักตัวผู้ที่เดินทางมาจากต่าง ประเทศจาก 14 วัน เหลือ 10 วัน ยกเว้นผู้ที่เดินทางมาจาก 12 ประเทศในภูมิภาคแอฟริกายังต้องกักตัว 14 วันเท่าเดิม เนื่องจากพบ ว่ามีเชื้อกลายพันธุ์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ