- ผู้ติดเชื้อในประเทศจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,820 ราย
- จากการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 953 ราย และ จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 6,853 ราย
- ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 9 ราย มาจากมาเลเซีย 4 ราย ไอร์แลนด์ 1 ราย อิสราเอล 1 ราย ปากีสถาน 1 ราย กัมพูชา 2 ราย แต่ผู้ที่เดินทางมาจากกัมพูชา พบว่ามี 1 รายมาจากช่องทางธรรมชาติ เป็นหญิงอายุ 60 ปี
"ขณะนี้เราคุมเข้มชายแดนอย่างเต็มที่ หากเป็นคนไทยขอให้อย่าลักลอบ ขอให้แสดงตัว เราจะดูแลท่านอย่างดี โดยเน้นการควบคุมโรคเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ยอดรวมเมื่อวานนี้(16 พ.ค.) มีคนลักลอบเข้ามา 87 คน โดยพบว่าติดชายแดน 72 คน มาตรวจพบในพื้นที่ตอนในถึง 15 คน ซึ่งน่าห่วง แม้หลายคนบอกว่าพื้นที่ตอนในเข้ามาอยู่นานพอสมควร ซึ่งวางใจได้ แต่เบาใจไม่ได้ แต่ 72 คนติดชายแดนยังต้องระวัง" นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค. กล่าว
- มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 25 ราย เป็นเพศชาย 15 ราย เพศหญิง 10 ราย อยู่ในกรุงเทพฯ 18 ราย และจังหวัดสุพรรณบุรี สุโขทัย สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี นครสวรรค์ และชัยนาท จังหวัดละ 1 ราย อายุเฉลี่ย 33-86 ปี ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว อ้วน และ สูงอายุ และมีปัจจัยเสี่ยงจากสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เป็นคนในครอบครัว และผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า ไปสถานที่แออัด ตลาด โรงพยาบาล และอาชีพเสี่ยง
จำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมในประเทศ ล่าสุดอยู่ที่ 111,082 ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในประเทศ 96,862 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 10,748 ราย ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 3,472 ราย โดยมีผู้ป่วยรักษาหายแล้ว 67,200 ราย เพิ่มขึ้น 1,397 ราย กำลังรับการรักษา 43,268 ราย อาการหนัก 1,226 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 400 ราย ยอดเสียชีวิตสะสมเพิ่มเป็น 614 ราย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จังหวัดที่ยังคงพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 ราย มี 4 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบรี โดยจังหวัดพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 10 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ 1,843 ราย สมุทรปราการ 155 ราย ปทุมธานี 146 ราย นนทบุรี 129 ราย สมุทรสาคร 53 ราย ชลบุรี 45 ราย สงขลา 42 ราย เพชรบุรี 39 ราย นครปฐม 36 ราย และพระนครศรีอยุธยา 31 ราย ซึ่งกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,362 ราย ส่วนจังหวัดอื่นที่เหลือมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 411 ราย ขณะที่มี 17 จังหวัดที่ไม่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่
ขณะที่ พบ 17 จังหวัด คือ ลำพูน ชัยภูมิ บุรีรัมย์ นครพนม น่าน สุโขทัย ชุมพร แพร่ อุตรดิตถ์ ชัยนาท หนองคาย พังงา อำนาจเจริญ มุกดาหาร หนองบัวลำภู บึงกาฬ สตูล ไม่มีการรายงานผู้ติดเชื้อ
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุมศบค.กทม.และ EOC กระทรวงสาธารณสุข พุ่งเป้าไปที่พื้นที่กทม. ชั้นใน เนื่องจากพบปริมาณผู้ติดเชื้อมาก ในช่วง 16 เม.ย.-15 พ.ค.64 โดยจากการเปรียบเทียบความเร็วและขนาดของการระบาดแยกรายเขตที่อยู่ พบว่า
- พื้นที่ที่มีปริมาณการระบาดมากและเพิ่มเร็ว 25 เขต
- พื้นที่ที่มีการระบาดมากแต่เพิ่มช้า 6 เขต,
- พื้นที่มีปริมาณการระบาดไม่มากแต่เพิ่มเร็ว 17 เขต
- พื้นที่ที่มีปริมาณการระบาดไม่มากและเพิ่มช้า แต่ต้องเฝ้าระวังตามระบบ 2 เขต
สำหรับการตรวจคัดกรองเชิงรุกในเรือนจำและสถานที่ต้องขัง 8 แห่ง ช่วงวันที่ 1-16 พ.ค.64 ได้ดำเนินการตรวจไปแล้ว 24,357 ราย พบผู้ติดเชื้อ 10,748 ราย คิดเป็น 49%
ส่วนที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน เช่น แคมป์คนงานก่อสร้างของ บมจ.อิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเมนต์ (ITD) ในพื้นที่เขตหลักสี่ ที่มีคนงานทั้งหมด 1,667 คน ตรวจพบผู้ติดเชื้อ 885 ราย คิดเป็น 53% หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งเตือนไปยังบริษัทรับเหมาที่มารับงานต่อจาก ITD อีก 11 ราย, แคมป์คนงานก่อสร้างอื่นๆ อีก 8 ราย และ ชุมชนใกล้เคียง 6 แห่ง ที่มีประชากร 6,118 คน เนื่องจากมีคนงานบางบริษัทอย่างต่ำ 1,000 คน อาศัยอยู่ในชุมชนเหล่านี้
โดยมีการกำหนดมาตรการ ดังนี้ 1.เฝ้าระวังในแคมป์ 2.แยกกักผู้ป่วย 3.กักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 4.เฝ้าระวังนอกแคมป์ 5.Sealed แคมป์ก่อสร้าง 6.จัดการสิ่งแวดล้อมในแคมป์ให้ถูกสุขอนามัย 7.บริหารจัดการวัคซีนสำหรับพื้นที่ระบาด และ 8.ติดตามบริษัทรับช่วงงาน 11 ราย และสถานที่ก่อสร้างทั้งสองแห่ง
ทั้งนี้จะมีการคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่อื่นๆ ทั่งกรุงเทพฯ ช่วงวันที่ 17-19 พ.ค.64 โดยตั้งจุดตรวจให้ได้วันละ 7,350-11,000 ราย
ส่วนความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนทั่วประเทศนั้น ล่าสุดฉีดไปแล้ว 2,264,308 โดส แยกเป็น เข็มแรก 1,482,702 ราย เข็มสอง 781,606 ราย
ขณะที่สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกล่าสุดวันนี้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมรวมแล้ว 163,691,053 ราย เสียชีวิต 3,392,588 ราย โดยประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุด อันดับแรก สหรัฐอเมริกา 33,715,951 ราย อันดับสอง อินเดีย 24,964,925 ราย อันดับสาม บราซิล 15,627,475 ราย อันดับสี่ ฝรั่งเศส 5,877,787 ราย และอันดับห้า ตุรกี 5,117,374 ราย โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 92