- ผู้ติดเชื้อในประเทศจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,924 ราย
- จากการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 482 ราย และจากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 605 ราย
- ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 41 ราย มาจากกัมพูชา 35 ราย มาจากมัลดีฟส์ 2 ราย มาจากมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และซาอุดิอาระเบีย ประเทศละ 1 ราย ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองได้ 191 ราย
- มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 24 ราย เป็นชาย 12 ราย หญิง 12 ราย อายุ 31-96 ปี อยู่ในกรุงเทพฯ 13 ราย สมุทรปราการ 3 ราย เชียงใหม่และราชบุรีจังหวัดละ 2 ราย นนทบุรี สุราษฎร์ธานี ยโสธร และ นครนายก จังหวัดละ 1 ราย ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตเรื้อรัง ไขมันในเลือดสูง มีหญิงตั้งครรภ์ 1 ราย และไม่มีโรคประจำตัว 7 ราย ส่วนสาเหตุติดเชื้อมาจากเพื่อนร่วมงาน อาศัย/เดินทางไปในพื้นที่ระบาด คนในครอบครัว ไปในที่ชุมชน
สำหรับจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมในประเทศ ล่าสุดอยู่ที่ 126,118 ราย โดยมีผู้ป่วยรักษาหายแล้ว 82,404 ราย เพิ่มขึ้น 2,900 ราย กำลังรับการรักษา 42,955 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก 1,216 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 409 ราย ยอดเสียชีวิตสะสมเพิ่มเป็น 759 ราย
โดยวันนี้มี 10 จังหวัดอันดับแรกที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุดระลอกใหม่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 1,191 ราย เพชรบุรี 437 ราย นนทบุรี 99 ราย สมุทรปราการ 94 ราย ชลบุรี 71 ราย ปทุมธานี 68 ราย สมุทรสาคร 49 ราย ยะลา 43 ราย ราชบุรี 29 ราย และ ตาก สงขลา สุราษฎร์ธานี นครปฐม จังหวัดละ 20 ราย โดยกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีผู้ติดเชื้อรวมกัน 1,521 ราย ส่วนจังหวัดอื่นที่เหลือมีผู้ติดเชื้อรวมกัน 885 ราย ขณะที่มี 20 จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ
ส่วนพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน ได้แก่ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ในจังหวัดเพชรบุรี 422 ราย, ตลาดสี่มุมเมืองในจังหวัดปทุมธานี 106 ราย, ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในจังหวัดยะลา 20 ราย, ชุมชนในอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 15 ราย, ตลาดและโรงงานผลิตสายไฟในจังหวัดชลบุรี 21 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากพบอัตราการติดเชื้อในผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอยู่ที่ 9.08% โดยแยกคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวังจำนวน 28 แห่ง ใน 24 เขต ออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
- กลุ่มเฝ้าระวังสูงสุด ได้แก่
1.ดินแดง (ตลาดห้วยขวาง และแฟลตดินแดง)
2.ราชเทวี (ประตูน้ำ, ชุมชนริมคลอง และแฟลตรถไฟมักกะสัน)
3.หลักสี่ (แคมป์ก่อสร้าง)
4.ดุสิต (สี่แยกมหานาค, สะพานขาว และตลาดผลไม้)
5.ป้อมปราบศัตรูพ่าย (คลองถมเซ็นเตอร์, เสือป่า, วงเวียน 22, วรจักร และโบ๊เบ๊)
6.พระนคร (ปากคลองตลาด)
7.คลองเตย (ตลาดคลองเตย และชุมชนแออัด)
8.บางรัก (สีลม)
9.สาทร (ชาวกินี) 10.บางกะปิ (ตลาดบางกะปิ) 11.บางพลัด (แคมป์ก่อสร้าง) 12.บางเขน (ตลาดยิ่งเจริญ) 13.บางกอกน้อย (ตลาดศาลาน้ำร้อน) 14.บางซื่อ (โกดังสินค้าให้เช่า) 15.ห้วยขวาง (ชุมชนโรงปูน) 16.ดอนเมือง (แคมป์ก่อสร้าง) 17.บางคอแหลม (แคมป์ก่อสร้าง)
- กลุ่มเฝ้าระวัง ได้แก่
1.สวนหลวง (ร้านเฟอร์นิเจอร์)
2.จตุจักร (โรงงานน้ำแข็ง)
- กลุ่มที่พบการระบาดใหม่ ได้แก่
1.คลองเตย (แคมป์ก่อสร้างสองแห่ง)
2.ห้วยขวาง (แคมป์ก่อสร้าง)
3.บางคอแหลม (แคมป์ทวีพร)
4.ปทุมวัน (แคมป์โปโล)
5.บางรัก (แคมป์ก่อสร้างฤทธา)
ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับวัคซีน ขณะนี้ได้รับส่งมอบแล้ว 6 ล้านโดส อยู่ระหว่างตรวจสอบคุณภาพ 2 ล้านโดส อยู่ระหว่างจัดส่งไปยังพื้นที่ 4 แสนโดส กระจายลงไปในพื้นที่แล้ว 3.6 ล้านโดส ฉีดไปแล้ว 2,811,549 โดส แยกเป็น เข็มแรก 1,849,393 ราย เข็มสอง 962,156 ราย
โฆษก ศบค.กล่าวว่า สำหรับข้อกังวลเรื่องแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจะไม่ได้รับการตรวจรักษานั้น ผู้อำนวยการ ศบค.ยืนยันแล้วว่ารัฐบาลมีนโยบายที่จะดูแลรักษาทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยขอให้แรงงานต่างด้าวดังกล่าวไปแสดงตัวเพื่อรับการตรวจ ขณะที่ผู้ประกอบการต้องให้เข้ามาช่วยดูแลรับผิดชอบด้วย ไม่ว่าจะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ โดยภาครัฐได้จัดเตรียมงบประมาณไว้แล้ว
ขณะที่สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกล่าสุดวันนี้ มียอดผู้ติดเชื้อสะสมรวมแล้ว 166,4672,940 ราย เสียชีวิต 3,457,619 ราย โดยประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุด อันดับแรก สหรัฐอเมริกา 33,862,398 ราย อันดับสอง อินเดีย 26,285,069 ราย อันดับสาม บราซิล 15,967,156 ราย อันดับสี่ ฝรั่งเศส 5,581,351 ราย และอันดับห้า ตุรกี 5,169,951 ราย โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 90