International SOS แนะ 5 เคล็ดลับที่องค์กรสามารถช่วยพนักงานรับมือปัญหาสุขภาพจิต

ข่าวทั่วไป Wednesday January 18, 2023 09:48 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) แนะนำเคล็ดลับสำหรับองค์กรที่จะช่วยพนักงานรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม โดยรายงานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า 15% ของผู้ใหญ่วัยทำงานมีปัญหาด้านสุขภาพจิต โดยในแต่ละปี องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกจะสูญเสียจำนวนวันทำงานมากถึง 1.2 หมื่นล้านวันไปกับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลของพนักงาน ดังนั้น ปัญหาสุขภาพจิตจึงเป็นประเด็นที่ไม่อาจมองข้ามได้

นพ. จามร เงินชารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS) กล่าวว่า หลังจากช่วงเวลาอันแสนสนุกสนานในเทศกาลปีใหม่ผ่านพ้นไป เป็นเรื่องปกติที่หลาย ๆ คนจะรู้สึกแย่เล็กน้อยในช่วงเวลานี้ของปี และรู้สึกยากลำบากที่จะต้องปรับตัวกลับเข้าสู่โลกการทำงานอีกครั้ง ในขณะที่บางคนอาจจะเผชิญกับแรงกดดันจากครอบครัวหรือด้านการเงินจากช่วงเทศกาล เนื่องจากหลายครัวเรือนต้องรับมือกับค่าไฟ ค่าจำนอง และอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับที่รายงานภาพรวมความเสี่ยงจากอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ประจำปี 2566 (International SOS Risk Outlook 2023) ระบุว่า แรงกดดันด้านค่าครองชีพมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพจิตและการทำงานของพนักงานมากที่สุดในช่วงระยะเวลา 12 เดือนต่อจากนี้

แม้ว่าการทำงานจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยปกป้องและป้องกัน (Protective Factor) สุขภาพจิต แต่อีกนัยหนึ่ง การทำงานก็อาจเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ลงกว่าเดิมได้ด้วยเช่นกัน หากปราศจากความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจากนายจ้างแล้ว ปัญหาด้านสุขภาพจิตอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน และทำให้พนักงานลางานบ่อยขึ้น ด้วยเหตุนี้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้พนักงานป่วยทางใจ และส่งเสริมให้ทุกคนดูแลตัวเองจึงถือเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับพนักงานเป็นอย่างยิ่ง

นพ.จามร กล่าวเสริมว่า ขณะนี้องค์กรต่าง ๆ ตระหนักถึงความจำเป็นในการให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตมากยิ่งขึ้น การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่พนักงานแต่ละคนสามารถยกระดับทักษะ จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการมีสุขภาพจิตที่ดี และการมีความคิดริเริ่มในด้านต่าง ๆ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตภายในองค์กรก็ถือเป็นกุญแจสำคัญ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นายจ้างควรทราบคือ พนักงานมักลังเลที่จะปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตกับเพื่อนร่วมงานและผู้จัดการ การที่จะแก้ปัญหานี้ องค์กรควรนำเสนอแนวทางที่หลากหลายซึ่งตอบสนองความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างกันของพนักงานแต่ละคน การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี เช่น การให้คำปรึกษาระยะสั้นแบบตัวต่อตัว การสร้างสภาพความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงาน บริการสายด่วนเพื่อสุขภาพตลอด 24 ชั่วโมง และการฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความเครียด ถือเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับพนักงาน

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้เผยแพร่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถส่งเสริมภาวะสุขภาพจิตที่ดีของพนักงานท่ามกลางช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับพนักงานบางคน ดังนี้:

1. สร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้างทางอารมณ์ และส่งเสริมการสื่อสารแบบเปิด ? สร้างพื้นที่ ๆ ปลอดภัยสำหรับพนักงานเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี โดยสนับสนุนให้พนักงานกล้าที่จะพูดถึงความรู้สึกออกมาตรง ๆ หากตนเองรู้สึกไม่สบายใจหรือกำลังมีปัญหาที่หนักหนาเกินกว่าจะรับไหว

2. ส่งเสริมการดูแลตนเอง ? องค์กรควรให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลตนเอง เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และเทคนิคการจัดการความเครียด โดยอนุญาตและสนับสนุนให้พนักงานหยุดพักจากการทำงานในระหว่างวัน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และยืดเส้นยืดสายเป็นระยะ ๆ

3. ให้ความยืดหยุ่น ? ในแง่ของเวลาทำงานและสถานที่ทำงาน เพื่อที่จะช่วยให้พนักงานสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัวตามความต้องการของแต่ละคน

4. ย้ำเตือนให้พนักงานรู้เสมอว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ? ส่งเสริมให้พนักงานใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพจิตและการสนับสนุนที่มีอยู่ขององค์กร เช่น การให้คำปรึกษาหรือโครงการช่วยเหลือพนักงาน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ