เชียงใหม่และกรุงเทพมหานคร ติด 10 อันดับคุณภาพอากาศและมลพิษสูงอีกครั้ง โดยเว็บไซต์ IQAir รายงานดัชนีคุณภาพอากาศโลก (AQI) ณ เวลา 09.17 น. เชียงใหม่ ติดอันดับ 5 ของโลก ค่า AQI อยู่ที่ 184 เข้าโซนสีแดง ส่วนกรุงเทพมหานคร (กทม.) ติดอันดับ 9 ของโลก โดยค่า AQI อยู่ที่ 176 เข้าโซนสีแดง (คุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อทุกคน)
ขณะที่ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กรมควบคุมมลพิษ รายงานภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน จ.ปทุมธานี กรุงเทพฯ จ.นนทบุรี จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ จ.น่าน จ.แม่ฮ่องสอน จ.พะเยา จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.แพร่ จ.อุตรดิตถ์ จ.สุโขทัย จ.พิษณุโลก จ.ตาก จ.กำแพงเพชร จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.อ่างทอง จ.สุพรรณบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ปราจีนบุรี จ.สระแก้ว จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.จันทบุรี จ.ตราด จ.บึงกาฬ จ.หนองคาย จ.อุดรธานี จ.นครพนม จ.หนองบัวลำภู จ.อุบลราชธานี จ.ศรีสะเกษ จ.นครราชสีมา และ จ. บุรีรัมย์
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกทม. รายงานผลการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 วันที่ 7 มี.ค. 66 เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5 ได้ 61-93 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 69 พื้นที่
โดยพบว่า มีพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 สูงกว่า 90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) หรือ ระดับสีแดง ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจำนวน 6 เขต ได้แก่ ลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก ประเวศ บึงกุ่ม และ คลองสามวา
โดยขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งและสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หากต้องทำกิจกรรมนอกบ้าน หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ ผู้มีโรคประจำตัวเตรียมยาประจำตัวให้พร้อม
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 สูงกว่า 75 มคก./ลบ.ม. หรือ ระดับสีส้ม ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพจำนวน 38 เขต ได้แก่ ดินแดง พระโขนง ราษฎร์บูรณะ ดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ วังทองหลาง ปทุมวัน บางรัก สาทร ยานนาวา สวนหลวง บางนา จตุจักร ดอนเมือง สายไหม บางกะปิ่ คั่นนายาว ธนบุรี คลองสาน บางกอกใหญ่ บางกอกน้อย ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ภาษีเจริญ หนองแขม บางบอน ทุ่งครุ พระนคร คลองเตย บางซื่อ ลาดพร้าว หลักสี่ บางเขน จอมทอง บางพลัด บางขุนเทียน บางคอแหลม ในช่วงวันที่ 7-12 มี.ค. 66 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี แต่ยังอยู่ในสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 7-8 มี.ค. 66 พื้นที่กทม. และปริมณฑล อาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 66 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากอากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด ลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง