สถานการณ์ฝุ่นและมลพิษในประเทศไทยยังคงวิกฤติ โดยล่าสุดเช้านี้ เว็บไซต์ IQAir รายงานดัชนีคุณภาพอากาศโลก (AQI) ณ เวลา 09.07 น. พบว่า เชียงใหม่ ประเทศไทย ค่า AQI อยู่อันดับ 2 ของโลกที่ 180 เป็นรองจากเมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ที่มีค่า AQI ที่ 204 ขณะที่กรุงเทพมหานคร เช้านี้ก็ติด 1 ใน 10 ของโลก ค่า AQI อยู่อันดับ 6 ที่ 157 โดยค่า AQI ของไทยอยู่ในระดับสีแดง (AQI = 151-200) หรือมีผลกระทบต่อทุกคน
ด้านศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 38-58 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม หรือเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 29 พื้นที่ ได้แก่
1. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 92 มคก./ลบ.ม.
2. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
3. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
4. เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
5. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
6. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
7. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
8. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
9. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
10. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
11. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
12. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
13. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
14. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
15. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
16. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
17. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
18. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
19. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
20. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
21. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
22. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
23. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
24. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
25. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
26. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
27. เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
28. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
29. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ในช่วงวันที่ 18-20 เม.ย. 66 การระบายอากาศจะดีขึ้น มีแนวโน้มการสะสมตัวของฝุ่น PM 2.5 ลดลง ช่วงนี้ความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่
ขณะที่บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
ดังนั้น จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย และวันนี้กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง 10% ของพื้นที่
ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 18-24 เม.ย. 66 สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ยังคงมีแนวโน้มที่ดีถึงปานกลาง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่
อย่างไรก็ดี จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ