เชียงใหม่-กทม. ยังอ่วม! คุณภาพอากาศแย่ต่อเนื่อง-มีผลกระทบสุขภาพ

ข่าวทั่วไป Wednesday April 19, 2023 10:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

เชียงใหม่-กทม. ยังอ่วม! คุณภาพอากาศแย่ต่อเนื่อง-มีผลกระทบสุขภาพ

สถานการณ์ฝุ่นและมลพิษในประเทศไทย ล่าสุดเช้านี้ เว็บไซต์ IQAir รายงานดัชนีคุณภาพอากาศโลก (AQI) ณ เวลา 09.04 น. พบว่า เชียงใหม่ ประเทศไทย ค่า AQI อยู่อันดับ 3 ของโลก ที่ 171 ขณะที่กรุงเทพมหานคร ค่า AQI อยู่อันดับ 6 ของโลกที่ 156 โดยค่า AQI ของไทยอยู่ในระดับสีแดง (AQI = 151-200) หรือมีผลกระทบต่อทุกคน

ขณะที่ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานผลการตรวจวัดฝุ่นละออง PM 2.5 ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ 33-56 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม หรือเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่

เชียงใหม่-กทม. ยังอ่วม! คุณภาพอากาศแย่ต่อเนื่อง-มีผลกระทบสุขภาพ

1. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.

2. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

3. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.

4. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

5. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.

6. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

7. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

8. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

9. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

10. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

11. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

12. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.

ในช่วงวันที่ 19-25 เม.ย. 66 สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยังคงมีแนวโน้มที่ดีถึงปานกลาง เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 เม.ย. 66 จำนวน 3 จุด ดังนี้

  • จุดที่ 1 เวลา 01.32 น. แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา
  • จุดที่ 2 เวลา 02.21 น. แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา
  • จุดที่ 3 เวลา 02.21 น. ถนนนิมิตใหม่ เขตมีนบุรี (อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดความร้อน)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ