กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศเตือนให้เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก หลังจากติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณีแล้วพบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวังอุทกภัย ในช่วงวันที่ 29 ส.ค.-3 ก.ย.66 ดังนี้
1.พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม บริเวณ
1.1 ภาคเหนือ
- จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอกัลยาณิวัฒนา จอมทอง และอมก๋อย)
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ขุนยวม และสบเมย)
- จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอเมืองกำแพงเพชร โกสัมพีนคร ขาณุวรลักษบุรี คลองลาน ไทรงาม พรานกระต่าย และลานกระบือ)
- จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง พบพระ แม่ระมาด แม่สอด วังเจ้า และอุ้มผาง)
- จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย เนินมะปราง และบางระกำ)
- จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอน้ำปาด)
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว ผาขาว ภูเรือ และวังสะพุง)
- จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร และบ้านแท่น)
- จังหวัดขอนแก่น (อำเภอชุมแพ ภูเวียง เวียงเก่า สีชมพู หนองนาคำ และหนองเรือ)
- จังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง วานรนิวาส และอากาศอำนวย)
- จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอกันทรวิชัย)
- จังหวัดหนองบัวลำภู (อำเภอเมืองหนองบัวลำภู นากลาง นาวัง และศรีบุญเรือง)
- จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอยางตลาด)
1.3 ภาคตะวันออก
- จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง)
- จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ นายายอาม มะขาม และแหลมสิงห์)
- จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง คลองใหญ่ บ่อไร่ และแหลมงอบ)
1.4 ภาคใต้
- จังหวัดชุมพร (อำเภอท่าแซะ และพะโต๊ะ)
- จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกระบุรี)
- จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง)
- จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
2.พื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ
- แม่น้ำยัง บริเวณอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
- แม่น้ำสงคราม บริเวณอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร ถึงอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
ในการนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1.ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน
2.เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที