ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้มีมติเห็นชอบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสำหรับปี 2567 ตามมติคณะกรรมการไตรภาคี เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.66 ซึ่งมีการยืนยันมติให้ปรับขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ 2-16 บาท มีผลตั้งแต่ 1 ม.ค.67 รอการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อประกาศใช้ไปแล้วจะมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาทบทวนสูตรคำนวณค่าแรงขั้นต่ำใหม่ทั้งระบบอีกครั้ง คาดว่าจะผลักดันให้มีการปรับขึ้นค่าแรงรอบที่ 2 ให้ได้ในเดือน มี.ค.67
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า ได้มีการหารือกับ ครม.ว่า ในวันที่ 17 ม.ค. คณะกรรมการไตรภาคีจะมีการประชุมอีกครั้งพร้อมตั้งคณะอนุกรรมการไตรภาคีขึ้นมาพิจารณาสูตรคิดคำนวณค่าจ้างสูตรใหม่ โดยจะไม่นำตัวเลขปี 63 และ 64 มารวมคำนวณแน่อน โดยอาจใช้ฐานข้อมูลจากปี 60-62 และปี 65 รวมทั้งข้อมูลดิบปี 66 มาพิจารณา
พร้อมกันนั้นคณะอนุกรรมการจะศึกษาในรายละเอียดของค่าแรง ทั้งรายวิชาชีพ รายอำเภอ หรืออาจถึงระดับเทศบาล สืบเนื่องจากหากปรับขึ้นค่าแรงเท่ากันทั้งจังหวัด อาจยังไม่สะท้อนภาพความเป็นจริงทั้งหมด เช่น บางจังหวัดเขตเทศบาลมีสภาวะเศรษฐกิจที่ดี แต่เมื่อออกนอกเขตเทศบาลเมือง จะเข้าสู่สังคมชนบท อาจมีสภาพเศรษฐกิจไม่ดีเหมือนในตัวจังหวัดหรือในตัวเมือง
คณะอนุกรรมการฯ จะขอข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม (สภาพัฒน์) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อนำมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาด้วย
"คิดว่า จะสามารถประชุมคณะอนุกรรมการและนำเข้าไตรภาคีชุดใหญ่ภายในเดือนมีนาคม เพื่อเป็นประกาศให้เป็นของขวัญปีใหม่ไทย วันสงกรานต์ ซึ่งผมมั่นใจว่า ในรายอาชีพ หรือรายที่เป็นอำเภอ เทศบาล จะสะท้อนภาพว่า มีสาขาวิชาชีพใด พื้นที่ไหน ที่สามารถปรับค่าแรงขั้นต่ำได้สูงกว่าปัจจุบันนี้"นายพิพัฒน์ กล่าว
นายพิพัฒน์ ให้ความมั่นใจการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในชุมชนเมืองต้องดีกว่าที่ประกาศออกมาในวันนี้แน่นอน นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ได้นำมติของคณะกรรมการไตรภาคีกลับมาเสนอเพื่อทราบอีกครั้ง โดยยืนยันตามเดิมว่า ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2-16 บาท โดยมีระดับค่าจ้าง 17 ขั้น ขั้นต่ำสุดคือขึ้นจาก 328 บาท เป็น 330 บาท ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และระดับ 1 สูงสุด คือ จังหวัดภูเก็ต จาก 354 บาท ขึ้นเป็น 370 บาท
ทั้งนี้ รมว.แรงงาน ได้แจ้งต่อที่ประชุมครม. ว่า ถึงแม้ค่าจ้างขั้นต่ำนี้ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมติกรรมการไตรภาคีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 67 แต่วันที่ 17 ม.ค. 67 จะมีการเรียกประชุมคณะกรรมการไตรภาคีอีกครั้ง เพื่อตั้งอนุกรรมการขึ้นมา เพื่อพิจารณารายละเอียดของค่าจ้างขั้นต่ำ โดยต้องลงลึกรายละเอียดทุกสาขาอาชีพ ทั้งนี้ อยากผู้แทนจากสภาพัฒน์ฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามาพิจารณาเพื่อลงลึกรายละเอียดถึงค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละสาขาที่ต่างๆ
โดย รมว.แรงงาน ได้ให้คำมั่นต่อที่ประชุม ครม. ว่า การตั้งอนุกรรมการชุดพิเศษขึ้นมานี้ จะนำไปสู่ข้อสรุป เพื่อเสนอค่าแรงขั้นต่ำรอบใหม่ ไม่เกินสิ้นเดือนมี.ค. 67
นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รมว.แรงงาน ได้นำมติของคณะกรรมการไตรภาคีกลับมาเสนอเพื่อทราบอีกครั้ง โดยยืนยันตามเดิมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2-16 บาท ระดับค่าจ้าง 17 ขั้น ขั้นต่ำสุดคือขึ้นจาก 328 บาท เป็น 330 บาท ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และระดับ 1 สูงสุด คือ จังหวัดภูเก็ต จาก 354 บาท ขึ้นเป็น 370 บาท
ทั้งนี้ รมว.แรงงาน ได้แจ้งต่อที่ประชุมครม. ว่า ถึงแม้ค่าจ้างขั้นต่ำนี้ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมติกรรมการไตรภาคีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 67 แต่วันที่ 17 ม.ค. 67 จะมีการเรียกประชุมคณะกรรมการไตรภาคีอีกครั้ง เพื่อตั้งอนุกรรมการขึ้นมา เพื่อพิจารณารายละเอียดของค่าจ้างขั้นต่ำ โดยต้องลงลึกรายละเอียดทุกสาขาอาชีพ ทั้งนี้ อยากผู้แทนจากสภาพัฒน์ฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามาพิจารณาเพื่อลงลึกรายละเอียดถึงค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละสาขาที่ต่างๆ
โดย รมว.แรงงาน ได้ให้คำมั่นต่อที่ประชุม ครม. ว่า การตั้งอนุกรรมการชุดพิเศษขึ้นมานี้ จะนำไปสู่ข้อสรุป เพื่อเสนอค่าแรงขั้นต่ำรอบใหม่ ไม่เกินสิ้นเดือนมี.ค. 67