ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกทม. เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่น PM 2.5 ตรวจวัดได้ 22.0-55.8 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 15 พื้นที่ คือ
1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 55.8 มคก./ลบ.ม.
2. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 47.2 มคก./ลบ.ม.
3. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 45.0 มคก./ลบ.ม.
4. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 45.0 มคก./ลบ.ม.
5. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 43.9 มคก./ลบ.ม.
6. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 42.7 มคก./ลบ.ม.
7. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
8. เขตภาษีเจริญ หน้า ม.สยาม (ประมาณ ซ.เพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 41.3 มคก./ลบ.ม.
9. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
10. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 40.9 มคก./ลบ.ม.
11. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 40.8 มคก./ลบ.ม.
12. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 39.7 มคก./ลบ.ม.
13. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.
14. เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 38.9 มคก./ลบ.ม.
15. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.
ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 3-11 ม.ค. 67 การระบายอากาศไม่ดีถึงอ่อน (ยกเว้น 11 ม.ค. 67 ดี) ประกอบกับเกิดสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากการระบายอากาศเป็นไปอย่างจำกัด และคาดการณ์วันนี้มีหมอกบางในตอนเช้า
สำหรับคุณภาพอากาศระดับสีส้ม ถือว่าเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรม หรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก และควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
สำนักสิ่งแวดล้อม ได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน
โดยเชิญชวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน ช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ "5 วิธีลดฝุ่น คุณก็ทำได้" 1. หมั่นทำความสะอาดบ้านด้วยวิธีเช็ดฝุ่น 2. งดเผาขยะ งดจุดธูป 3. ปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษดักจับฝุ่นละออง 4. เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ 5. ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ตรวจสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดำเกินมาตรฐาน