โฆษกกระทรวงพลังงาน ระบุว่า เดิมทีบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีสิทธิการใช้ก๊าซธรรมชาติราคาถูกจากอ่าวไทย ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ได้ถูกนำมาหารเฉลี่ยกับราคาก๊าซ LNG นำเข้าจากต่างประเทศ และแหล่งอื่นๆ หรือที่เรียกว่าพูลก๊าซ (Pool Gas) ที่เป็นฐานต้นทุนที่ผลิตไฟฟ้าคนทั้งประเทศ ซึ่งมีราคาสูงกว่า
แต่เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. รมว.พลังงาน ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) สั่งแก้ไขด้วยการโยกก๊าซธรรมชาติที่ได้จากอ่าวไทยในส่วนที่นำไปใช้ผลิตปิโตรเคมีหากำไรเพื่อบริษัท นำไปสำรองให้กับการผลิต LPG ประชาชนใช้หุงต้มดำรงชีวิตในราคาถูกที่สุด (ประมาณ 219 บาท) ส่วนการผลิตปิโตรเคมีให้ใช้ในราคาของพูลก๊าซ (ประมาณ 362 บาท) ซึ่งทำให้ต้นทุนด้านปิโตรเคมีเพิ่มสูงขึ้น แต่เป็นสิ่งที่เราเล็งเห็นว่าเป็นธรรม และควรปรับมาเนิ่นนานแล้ว ผลลัพธ์ในการเฉลี่ยราคาแบบใหม่ทำให้ราคาต้นทุนค่าไฟฟ้าให้ประชาชนลดลงได้ (ประมาณ 11.5ส ตางค์/หน่วย) ในระยะยาว
"นี่แค่ "รื้อ"แรก ยังมี "รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง" โครงสร้างพลังงาน ส่งเสริมพลังงานสะอาดอีกหลายสูบ เพื่อให้พลังงานมั่นคง, เป็นธรรม อย่างยั่งยืน โปรดติดตาม" นายพงศ์พล กล่าว